วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเป็นผู้นำในสถานศึกษาอย่างมืออาชีพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาต่างมีอุดมการณ ์และหลักการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมไทยเพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และเพื่อให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษาพัฒนาคนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตอันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่พึงประสงค์
อุดมการณ์สำคัญของการจัดการศึกษา คือ การจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิต และการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมเห่งการเรียนรู้ การศึกษาที่จะสร้างคูณภาพชีวิต และสังคมบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม เป็นการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคนไทยทั้งปวงมุ่งสร้างพื้นฐานที่ดีในวัยเด็ก ปลูกฝังความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตั้งแต่วัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้สังคมทุกภาคส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้อย่างมั่นใจว่า การศึกษาเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิต และสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน สามารถพึงตนเอง และพึ่งกันเองได้ และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ)ดังนั้นในการดำเนินการการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นการศึกษาขั้นต้นจึงจำเป็นที่จะต้องปูพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนอย่างมั่นคง จริงจัง ในทุก ๆ ด้านตามเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษา จึงจำเป็นต้องส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่สถานศึกษาในการจัดการศึกษา และได้บัญญัติไว้ในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฯ ให้มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณบริหารงานบุคคล และงานบริหารงานทั่วไป ไปยังคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่ มีอิสระมึความเข้มแข็งในการบริหารงาน เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างคล่องต้ว รวดเร็ว และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีมาตรฐานการศึกษาของชาติ หรือหลักสูตรที่เลิศ และมีงบประมาณสนับสนุนที่มากมาย ถ้าหากโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติโดยเฉพาะครูผู้รูู้อนยังมีพฤติกรรมการสอนที่ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งต่าง ๆที่กล่าวมาหาได้มีความหมายใด ๆไม่
การทำงานที่ประสบผลสำเร็จของโรงเรียนปัจจัยที่สำคัญยิ่งคือ ครูมีกำลังใจในการทำงาน มีความกระตือรือร้น ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และสติปัญญาอย่างเต็มที่คือหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ การเปลี่ยแปลงพฤติกรรมของครูให้เป็นที่คาดหวังดังกล่าว ส่วนหนึ่งคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่งในระดับหน่วยปฏิบัติ ที่จะให้การกระตุ้นยั่วยุ ปลุกเร้า ท้าทาย เพื่อให้ครูมีความกระตือรือร้น ทุ่มเทกับการทำงาน พร้อมสนับสนุนให้ครูมีความรู้ ความสามารถในการทำงาน การจัดกิจกรรมการการเรียนการสอนอย่างลุ่มลึก และแจ่มแจ้ง พร้อมสนับสนุนปัจจัยหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานต่าง ๆ ให้เพียงพอก็จะทำให้ครูมีประสิทธิภาพในการจัดกืจกรรมการเรียนการสอนโดยจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และจริงจังจะหยุดไม่ได้ ดังนั้นการดำเนินงานที่จะทำให้ โรงเรียนปราศจากความล้มเหลวควรที่จะประกอบด้วยปัจจัยของการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมืออาชีพดังนี้

1.การเป็นผู้นำ
ความสำเร็จหรือความล้มเหลวทั้งปวงของโรงเรียนขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้นำ ทั้งสิ้น พฤติกรรมของผู้นำ คือ ชักจูง ปลุกเร้า ให้ครูในโรงเรียนทุกคน ตลอดทั้งผู้ปกครอง และชุมชน ยอมรับคล้อยตามความฝัน หรือเป้าหมาย เพื่อให้ความฝันหรือเป้าหมายเกิดความเป็นส่วนร่วมกันของคณะครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และชุมชน มิให้เป็นของคน ๆ เดียวเมื่อทุกคนมีส่วนร่วม และยอมรับเป้าหมายตรงกันทุกคนส่วนร่วมในกระบวนการที่จะทำให้ฝันเป็นจริงโดยเปิดโอกาสให้ครูทุกคนมีอิสระในความคิด และร่วมสร้างสรรค์ในการพัฒนางานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียนที่ไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่มีเป้าหมาย มักจะถูกครูที่อยู่รอบข้าง หรือผู้บังคับบัญชา หรือนักการเมืองที่อยู่เหนือขึ้นไป กำหนดขอบเขตให้เดินตาม ดังนั้นผู้บริหารที่จะทำโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จ จะต้องมีลักษระดังนี้
1) เป็นผู้มีความฝัน ว่าโรงเรียนในอุดมคติหรือโรงเรียนที่ดีนั้นมีหน้าตา ลักษณะอย่างไร มองเห็นภาพงาน และภาพความสำเร็จที่จะเดินไป
2) โน้มน้าว และสร้างแรงจูงใจให้ครู ผู้ปกครอง และชุมชนยอมรับ และคล้อยตามฝันเพื่อให้เป็นความฝันของทุก ๆ คนร่วมกัน
3) เป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่ และอุทิศตนในการที่จะทำให้โรงเรียนในฝันเป็นจริง โดยยืนยัดอดทน ไม่ทิ้งความฝันที่ตั้งไว้
4) กระตุ้นยั่วยุ ปลุกเร้า ท้าทาย และสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทำงานอย่างเข้มแข็ง
5) เป็นผู้มีคุณะรรม จะได้รับความร่วมมือและมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน
6) เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ยอมรับสิ่งใหม่ ๆ กระตือร้อร้นที่จะเรียนรู้ ความคิดเห็นใหม่ ๆ รวมทั้งกล้าเผชิญหน้า และ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

2.ลูกค้าคือสิ่งสำคัญที่สุด
บริษัทที่ประสบความสำเร็จ จะต้องยึดถือลูกค้าเป็นเป้าหมายสูงสุด ทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และครู ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ร่วมวางแผน ในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน และส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐาน และควบคุมตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ตลอดจนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ หากทำได้อย่างที่กล่าวแล้วนั้นย่อมแสดงว่าโรงเรียนก้าวสู่ยุคปฏิรูป เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ที่มาใช้บริการอย่างแท้จริง

3.มองเห็นเป้าหมายหรือภาพความสำเร็จตรงกัน
ในการปฏิบัติงานใด ๆจะต้องฝึกให้ผู้มีส่วนร่วมงานรู้จักการตั้งเป้าหมาย หรือมีเป้าหมายทุก ๆ ครั้ง เมื่อมีเป้าหมายและภาพของความสำเร็จของงานจะเป็นตัวชี้วัดของการทำงานว่าสำเร็จ หรือล้มเหลว
การทำงานหากแต่ละคนมีเป้าหมาย และจุดมุ่งหมายในการทำงานคนละอย่างคนละเรื่องแล้ว การทำงานย่อมไม่มีทิศทาง และพลัง เพราะคนต่างทำตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เปรียบเสมือนกับการพายเรือ หากฝีพายไม่ทราบจุดหมาย และเป้าหมายที่จะไปแล้วแต่ละคนจะพายไปในทิศทางของตนเอง เรืออาจจะวนไปวนมา หรือเรืออาจล้มได้ แต่ถ้าหากทุกคนมีจุดหมายและเป้าหมายในทิศทางที่ตรงกันแล้วทุกคนก็จะพายไปในทิศทางเดียวกัน แและจะถึงจุดหมายที่จะไปในที่สุด
ในการบริหารสถานศึกษาก็เช้นเดียวกัน คือทุกคนจะต้องรู้เป้าหมาย เข้าใจร่วมกัน และเห็นภาพสุดท้ายในการทำงานที่ตรงกันเพราะเมื่อทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันและตรงกันแล้วก็จะเกิดพลัง และความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานให้ได้ผลตามเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ และในการตั้งเป้าหมายนั้น จะต้องตั้งเป้าหมายที่คนได้ยินได้ฟังเกิดพลัง มีความทะเยอทะยาน ท้าทาย และมีความเป็นไปได้
พึงตระหนักว่า โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยพื้นฐานของวิสัยทัศน์ หรือความคาดหวังของผู้มีส่วนร่วมได้เสีย(Stakeholders ) ร่วมกันสร้างเป้าหมาย(Goals ) โดยมุ่งที่ตัวนักเรียนเป็นผลผลิต และร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์(Strategic plan) โดยอาศัยข้อมูลอย่างจริงจังเเื่ื่ื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่พึงประสงค์
ในสถานศึกษา การกำหนดเป้าหมายจะต้องมุ่งไปที่นักเรียนซึ่งเป็นลูกค้า ว่านักเรียนจะต้องได้รับอะไรบ้างโดยมีหลักสูตรเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมาย และมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ซึ่งผู้มีส่วนได้ด้เสีีัยร่วมกันกำหนดพร้อมกำหนดยุทธศาสตร์ ที่จะก้าวไปถึงเป้าหมาย เพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพสุดท้ายที่ตรงกัน

4.การสร้างองค์กร (ดำเนินการให้ทุกคนเชื่อมั่นในเป้าหมาย)
การสร้างองค์กรให้มีความเชื่อมั่นในเป้าหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร จะต้องแสดงหรือตอกยำ้ และกล่าวถึงเป้าหมายให้ทุกคนเกิดความเชื่อมั่น เพื่อจะให้ทุกคนในองค์กรจะได้ ช่วยกันทุ่มเทการทำงานให้ได้ตามเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา และฝังอยู่ในจิตใจของทุกคน เสมือนกับการตอกหัวตะปูยำ้แล้วยำ้อีกเพื่อจะให้ตะปูเจาะเนื้อไม้ที่แข็งแกร่งเพื่อให้ทุกคนเห็นจุดยืนหรือทิศทางของโรงเรียนอย่างชัดเจนไม่ว่าจะมีอุปสรรค์ หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆก็ตามก็พร้อมที่จะช่วยกันฟันฝ่าไปสู่เป้าหมาย

5.ความคิดสร้างสรรค์
มีนักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า"คนไทยส่วนใหญ่ชินต่อระบบการชี้นำจึงไม่อยากคิดเอง และไม่พร้อมที่จะคิดหาวิธีการทำงานของตนเองถ้าหากมีคนชี้นำดีก็พอนำไปได้ถ้าหากขาดผู้ชี้นำที่ดีก็จะทำงานไม่ได้หรือไม่อยากจะทำงานต่อไป และผู้บังคับบัญชาก็ไม่ได้ใจลูกน้องเนื่องจากเราชินต่อระบบเผด็จการ และการที่ลูกน้องไม่กล้าแสดงความสามารถ จึงทำให้ผู้บังคับบัญชาชินต่อการสั่งการเลยไม่ค่อยเข้าใจลูกน้อง" หน่วยงาน หรือสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จร็็ถึอความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจของบริษัท ซึ่งต้องคอย กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทาย และให้การสนับสนุนบุคลากรในหน่วยงาน เกิดความคิดสร้างสรรค์ และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ แปลก ๆ อยู่ตลอดเวลา
การที่จะให้เกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ จะต้องเริ่มจากการ ตั้งเป้าหมายที่ฝังแน่นในหัวใจ และต่อมาก็จะเกิดความตั้งใจปรารถนาจะไปให้ถึงเป้าหมายมีความตั้งใจอย่างแรงกล้า จึงจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบการคิดค้นในวิธีการหรือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ดังนั้นการปฏิบัติงานในสถานศึกษาผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้อิสระในการทำงานพร้อมกับสนับสนุนและให้กำลังใจในการทำงาน โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จหรือโรงเรียนดีเด่นต่าง ๆจะมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ แปลก ๆอยู่เสมอในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน

6.การทำงานเป็นทีม
ในโลกอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้ การบริหารงานแบบข้าเก่งคนเดียว ย่อมสิ้นสุดลงแล้วเมื่อย่างเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ การบริหารงานที่จะอยู่รอดได้ คือ การทำงานเป็นทีม และต้องเป็นทีมที่เต็มไปด้วยพละกำลัง และความกระตือรือร้น เพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมาย ดังเช่นอาชีพหมอ จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และและความคิดเห็นกันอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคจนถึงการผ่าตัดรักษาคนไข้
ไซเซอร์(sizer) กล่าวถึงโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะต้องเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะของความเป็นกัลยาณมิตรร่วมวิชาชีพ (Collegiality ) คือ
1)บุคลากรในโรงเรียนพูดคุยกันถึงเรื่องการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สมำ่เสมอและเป็นรูปธรรม
2) บุคลากรในโรงเรียนสังเกตการทำงานของกันและกันทั้งในเรื่องของการเรียนการสอน และการบริหารโรงเรียนแล้วนำสิ่งที่ได้จากการสังเกตมาพิจารณาทบทวน และพูดคุยกันเพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้น
3) บุคลากรในโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตรโดยการวางแผนออกแบบทำวิจัยศึกษา และวัดผล ประเมินผลหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียน
4) บุคลากรในโรงเรียนแนะนำการสอน และพัฒนาซึ่งกันและกันในเทคนิควิธีการทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และภาวะผู้นำที่แต่ละคนถนัด
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจะทำให้ทุกคนเกิดการมีส่วนร่วม คือทุกคนร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผลได้ผลเสียในการกระทำร่วมกัน เมื่อทุกคนมีส่วนร่วมจะทำให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
การทำงานเป็นทีม เป็นการดึงเอาศักยภาพหรือความเก่งของแต่ละบุคคลในกลุ่มมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และบุคคลในกลุ่มยังได้เรียนรู้การทำงานที่ดีจากเพื่อน ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ นโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ การทำงานที่คลุมเครือจะกระจ่างขึ้น ทุกคนเห็นเป้าหมาย และจุดหมายได้ตรงกัน ซึ่งจะช่วยกันสร้างภาพงานหรือหนทางที่หลากหลายในการไปสู่เป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญที่สุดบุคลากรมีความรัก ความเข้าใจ และเอื้ออาทรต่อกัน

7 เปิดโอกาสให้คนอื่นพูด
การฟังคือความสามารถที่จะช่วยให้เรารู้ถึงความต้องการ และวัตถุประสงค์ของลูกค้า ผู้ซื้อ และผู้ร่วมงาน ดังนั้นการฟังของผู้บริหารจึงเป็นเครื่องชี้อย่างหนึ่งที่บอกว่าสำนักงานใด หรือโรงเรียนใดล้มเหลว หรือประสบความสำเร็จ ดังปราชญผู้รู้กล่าวว่า"พระเจ้าประทานให้เรามีสองหูหนึ่งปาก" ดังนั้นการฟังจึงมีความสำคัญต่อหน่วยงาน

8.ความเรียบง่ายของผู้บริหาร
กรอบความคิดเป็นตัวกำหนดในการแสดงพฤติกรรมที่เป็นมิตรหรือศัตรู ถ้าผู้บริหารมีกรอบความคิดว่าทุกคนคือเพื่อนร่วมงานการปฏิบัติตนของผู้บริหารจะแสดงออกด้วยความเป็นมิตร ทั้งภาษา ท่าทาง มีการยกย่องให้เกียรติ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความเป็นศัตรูจะไม่เกิดขึ้น

9.คำชมเชย
ในชีวิตการทำงานจริง ๆเราต้องทำงานร่วมกับหมู่คณะ บางครั้งเราต้องการความร่วมมือ บางครั้งเราต้องการให้เขาทำงานตามสิ่งที่เราบอก บางครั้งเราต้องการให้เขากระตือรือร้นสนใจในการทำงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย ตามแต่ใจปรารถนา แต่สิ่งหนึ่งที่เรามักลืมนึกถึงในการทำงานร่วมกันคือ คนเราทุกคนต้องการคำชมเชย ยกย่อง และไม่มีใครต้องการคำตำหนิ ดูถูก หรือเหยียดหยาม (แต่คำยกย่องชมเชย ต้องมาจากความจริงใจ)่ และเมื่อทุกคนต้องการสิ่งเหล่านี้ทำไมผู้บริหารให้เขาไม่ได้(ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนแต่อย่างไร)
ในคำยกย่อง ชมเชยผู้เขียนนึกถึงสมัยเรียน ระดับประถมศึกษาในหลักสูตรพุทธศักราช 2503 ในวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นิทานเรื่อง "โคนันทวิสาร"ได้พูดถึงการทำงานของโคในการลากจูงเกวียนที่บรรทุกสิ่งของค่อนข้างหนักแต่เจ้าของเกวียนใช้คำพูดที่เป็นลักษณะปิยะวาจาทำให้การทำงานในครั้งนั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ดังนั้นในการทำงานแม้จะยากลำบากหนักหนาสาหัส แต่ถ้าได้รับคำชมเชยเราจะได้ใจจากเพื่อนร่วมงานที่จำทำงานให้บรรลุเป้าหมายไปได้

10.การท้าทาย
มนุษย์ทุกคนปรารถนาอยากจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ เป็นที่รู้จัก และยอมรับนับถือของผู้คนด้วยกันทั้งสิ้น การท้าทายจึงเป็นการพิสูจน์ความสามารถของตนเอง หน่วยงานหรือองค์การที่ประสบความสำเร็จมักจะหาเรื่องต่าง ๆมาท้าทายความสามารถของบุคลากรในหน่วยงานอยู่เสมอพร้อมกับคำพูดยั่วยุ ปลุกเร้า โดยพยายามที่จะเลือกหาคำที่เหมาะสมเพื่อเป็นการปลุกเร้า ให้บุคลากรลุกขึ้นมาแข่งขันอยู่ตลอดเวลา เช่น "เราจะชนะคู่แข่งให้ได้ " "สินค้าและการบริการของเราจะต้องอยู่ในแนวหน้าเท่านั้น" "การทำงานวันนี้จะต้องได้ผลดีกว่าเมื่อวานนี้"
ดร.อัลวิน เอซ ไพร้ซ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ในหนังสือ 101 วิธีช่วยให้เด็กฉลาด ในเรื่องการท้าทายมีหลักดังนี้
1) ควรให้การท้าทายในขอบเขตเรื่องที่เขาเคยทำสำเร็จมาแล้ว
2) แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานมีความสนใจในเรื่องท้าทายนั้น ๆไม่ใช่เรื่องที่เขาคิดว่า เขาควรจะลองจะเลือก ในสิ่งที่เขาอยากลอง
3) ในเรื่องการท้าทายนั้น ๆจะต้องยากนิดหน่อย เพื่อให้เป็นเรื่องท้าทายจริง ๆแต่ไม่ใช่ยากจนเกินไปจนเขาไม่กล้าลอง

11. ให้ความรู้และเครื่องมือในการทำงาน
คนเราเมื่อมีความรัก ความอยาก ความชอบ หรือที่เรียกว่า ฉันทะ ที่จะทำงานแล้ว ต่อมาก็จะเกิด วิริยะ คือความเพียร มี จิตตะ คือจิตใจจดจ่อต่อการทำงาน และ มี วิมังสะ คือความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของศาสตร์ นั้น ๆอย่างลุ่มลึก และถ่องแท้ รู้จักปรับปรุงใคร่ครวญ พัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นจึงเป็นเรื่องที่จะขาดไม่ได้ ดังนั้นในการจะพัฒนาให้ครูเป็นผู้มีความรู้ความสามารถถึงขั้นครูมืออาชีพในการจัดการเรียนการสอนควรจะมีวิธีดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
1) การให้ครูมีโอกาสไปศึกษาดูงาน
2) จัดหาหนังสือให้ครูได้ศึกษาค้นคว้า อ้างอิง
3) จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
4) การเชิญวิทยากรหรือผู้มีความสามารถ มาให้ความรู้ หรือมาฝึกปฏิบัติ
5) จัดหาครูที่มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มาเป็นครูพี่เลี้ยงให้คำแนะนำช่วยเหลือ
6) จัดตั้งชุมนุม หรือชมรม QC เพื่อและเปลี่ยนความคิดเห็น
7) สนับสนุนให้ครูได้มีการศึกษาต่อในสถาบันต่าง ๆ
8) ให้ครูได้รับการอบรมสัมมนา หรือฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ
9) จัดให้มีการนิเทศอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นประจำ

12.การให้ข้อมูลย้อนกล้บ
การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ปฏิบัติงานไม่มีข้อมูลที่แสดงกระบวนการทำงาน หรือผลผลิตที่ได้มานั้นมีข้อบกพร่องอะไรที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข หรือมีจุดเด่นอยู่ที่ไหน ที่จะต้องรักษาไว้ หรือพัฒนาต่อไป
ปกติการทำงานหรือได้รับมอบหมายให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด เรามักจะทำให้แล้วเสร็จเท่านั้น จะไม่ค่อยคำนึงว่าผลผลิตที่ออกมาดีหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในระบบราชการ จุดด่อยอันหนึ่งที่ทำให้การทำงานไม่สนุกเพราะไม่มีข้อมูลย้อนกลับว่าวันนี้เราทำงานเป็นอย่างไรตรงตามจุดประสงค์ และเป้าหมายหรือไม่ ผลงานที่ทำวันนี้ได้มาตรฐานเพียงใด
หน่วยงาน หรือบริษัทดีเด่นเขาจะมีข้อมูลย้อนกลับให้ผู้ปฏิบัติงานทราบผลการทำงานทันที เหมือนกับการเล่นกีฬาเมื่อแข่งขันเสร็จแต่ละแมทการแข่งข้นผู้ฝึกสอนจะมีการแก้เกมแก้ไขจุดด้อยของทีมของตนเองเพื่อให้การแข่งขันใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเกมที่ผ่านมา และนำข้อมูลย้อนกลับมาช่วยปรับปรุงแก้ไขการทำงานเพื่อให้ได้มาตรฐาน เช่นวันนี้การผลิตสินค้า ไม่ได้มาตรฐาน 15 ชิ้น จากการผลิตสินค้าทั้งหมด 100 ชิ้น เมื่อพนักงานทราบข้อมูลย้อนกลับเช่นนี้ วันต่อไปจะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานมากขึ้น
โรงเรียนเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีครูและบุคลากรช่วยกันทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตคือ นักเรียนที่มีคุณภาพตามหลักสูตร และตามที่สังคมต้องการ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลย้อนกลับให้ทราบว่า การทำงานเป็นอย่างไรอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขมิใช่ว่าเมื่อสิ้นปีการศึกษาค่อยมีข้อมูลย้อนกลับมาให้แก้ไข ซึ่งก็สายเสียแล้วดังนั้นการติดตามผล ตรวจสอบหรือประเมินผลในกระบวนการทำงาน และผลผลิต จึงมีความสำคัญเพราะแก่นแท้ของการประเมินผล หรือการตรวจสอบการทำงานก็เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับให้นำไปใช้ในการพัฒนา และปรับปรุงการทำงาน และผลผลิต ให้มีคุณภาพมากขึ้น ปัญหาอยู่ที่ตรงระบบการประเมินมีการทำความเข้าใจที่ตรงกันหนือไม่ ระหว่างผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมินว่าจะประเมินเพื่ออะไร ประเมินอะไร อย่างไร และมีความเป็นไปได้เพียงใด บางครั้งมีการสร้างเครื่องมือร่วมกัน หรือวัดประเมินผลไปไปด้วยกัน
ดังนั้นการให้ข้อมูลย้อนกลับคือหัวใจของความสำเร็จที่กระตุ้นให้ผู้ทำงานเกิดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาการทำงานของตนเองให้มีคุณภาพ
จากเนื้อหาที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าบุคคลที่สำคัญสูงสุดใหน่วยงาน หรือในสถานศึกษาคือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่คาดหวัง ที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้น ประสิทธิภาพของการบริหาร หมายถึง สัดส่วนระหว่างผลผลิต กับปัจจัยป้อนเข้า ถ้าได้สัดส่วนใกล้เคียง 100 จะสรุปได้ว่าการบริหารงานมีประสิทธิภาพสูง แต่การบริหารงานในสถานศึกษาที่มีอิสระ และมีความเข้มแข็งในการบริการงานที่ปราศจากการศึกษาทำความเข้าใจ ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารก็จะทำให้การบริหารเกิดการสดุดไม่ราบรื่นอย่างที่คาดคิดดังนั้นบทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพควรที่จะดำเนินการดังนี้
1) รวบรวมและจัดระบบของข้อมูลสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน การบริหารแนวใหม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหาร และตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลมากกว่าสามัญสำนึก
2) วางแผนและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ การวางแผนมีส่วนช่วยให้ผู้บริหารมีทิศทางในการบริหารตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา และนโยบายการบริหาร
3) ศึกษากฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ผู้บริหารมีอำนาจในการบริหารอย่างอสระ ขณะเดียวกันก็รับผิดชอบต่อผลของการตัดสินใจของตนอย่างเต็มที่เช่นกัน
4) การบริหารและการต้ดสินใจโดยองค์คณะบุคคล การศึกษาเป็นบริการกิจการสาธารณะ ที่มีผู้เกี่ยวข้อง และได้รับผลจากการบริการจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้การบริหาร และการตัดสินใจมีความถูกต้องและก่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการมากที่สุด ผู้บริหารควรดำเนินการโดยองค์คณะบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
5) จัดระบบบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง แม้ผู้บริหารจะมีอำนาจอิสระในการบริหาร และการตัดสินใจก็ตาม แต่อำนาจมีอิสระนั้นมิใช่เป็นไปโดยปราศจากการควบคุมตรวจสอบของทางราชการ โดยเฉพาะด้านการเงินซึ่งส่วนใหญ่มาจากงบประมาณ แผ่นดิน
เงื่อนไขทั้งหมดดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เป็นผู้นำจะต้องมี หรือจัดให้มีขึ้นเพื่อให้การบริหาร และการตัดสินใจของตนมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลตามเจตนารมณ์ สมกับคำพูดที่ว่า "เป็นผู้นำในสถานศึกษาอย่างมืออาชีพ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น