วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผู้นำกับการบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

เรื่อง ผู้นำกับการบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
“ถ้าปราศจาก ซึ่งความขัดแย้งก็ไม่มีความก้าวหน้าและเชื่อว่าความขัดแย้งและการ
เปลี่ยนแปลงเป็นของคู่กัน ความขัดแย้งเป็นกฎพื้นฐานของชีวิต” (Karl Marx,1879) ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่
ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็ นสิ่งสนับสนุนให้เกิดผลดีรวมทั้งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการ
ปฏิบัติงานด้วย การปฏิบัติงานจะบังเกิดผลดีย่อมจะต้องมีความขัดแย้งอยู่ในระดับที่พอเหมาะพอดี ความ
ขัดแย้งเกิดจากการแข่งขันในทรัพยากร การงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่ ปัญหาทางสถานภาพของมนุษย์
การติดต่อสื่อสาร นิสัยของบุคคล การใช้อำนาจ การแสวงหาเป้าหมายที่แตกต่างกัน การแบ่งปัน
ผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ เมื่อเกิดความขัดแย้งมนุษย์จึงพยายามแสวงหาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขความ
ขัดแย้งดังกล่าว
ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในองค์กร การเผชิญกับความขัดแย้งจึงถือเป็น
ความท้าทายศักยภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคนในองค์กร การจัดการกับความขัดแย้ง ผู้มี
ส่วนร่วมควรมีความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติ พื้นฐานของความขัดแย้ง กระบวนการในการวิเคราะห์ และ
การประเมินพฤติกรรมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการแสวงหาเครื่องมือ และ
เทคนิควิธีการในการจัดการกับความขัดแย้ง ตลอดจนพัฒนาทักษะทางจิตวิทยาต่างๆ อาทิเช่น การสื่อสาร
เชิงปฏิสัมพันธ์ และทักษะให้การปรึกษาแก่บุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และความสุขในการทำงาน
ของบุคคลในองค์กร รวมทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรภายนอกด้วย ดังนั้นการจัดการกับ
ความขัดแย้ง จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีในองค์กร โดยใช้เทคนิควิธีการทาง
จิตวิทยามาช่วยในการแปร “ความขัดแย้ง” ไปสู่ “พลังสร้างสรรค์” ในการทำงานร่วมกัน
ความหมายของความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง หมายถึงสภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือตกลงหา
ข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ (ทิศนา แขมณี, 2522)
ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพที่บุคคลทั้ง 2 ฝ่ายมีความคิดเห็นหรือความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยัง
ไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องกันได้ (พนัส หันสนาคินส์, 2531)
ดังนั้น ความขัดแย้ง จึงเป็นความนึกคิดหรือการกระทำของบุคคลเกี่ยวกับตนเอง บุคคลอื่นและ
ระหว่างกลุ่มบุคคลอื่น ๆ ด้วย ส่งผลให้เกิดการแข่งขันหรือกำกับควบคุมซึ่งกันและกันขึ้น
ที่มาของความขัดแย้ง
1. การกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของบุคคล
2. ปัญหาสถานภาพของบุคคล
3. ช่องว่างในการติดต่อสื่อสารของบุคคล
4. นิสัยใจคอของบุคคล
5. การใช้อำนาจของผู้มีอำนาจ
6. การแสวงหาเป้าหมายของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน
7. การแข่งขันในตัวเองของแต่ละบุคคล
8. การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการที่ต้องถูกบังคับให้มีสังกัดซึ่งกันและกัน
9. การแข่งขันในด้านทรัพยากร
10. การทำงานตามหน้าที่ของแต่ละบุคคล
การจัดการความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ (Blak Sharpark andMuton,1998)
1. การมอบอำนาจ
2. การยอมรับ ความรับผิดชอบส่วนบุคคล
3. การให้ข้อมูลย้อนกลับที่สร้างสรรค์
4. พฤติกรรมที่เหมาะสมในการแสดงออก
5. การสื่อสารที่ชัดเจน
6. สร้างความเชื่อมั่นตนเอง
7. การหาทรัพยากรเพิ่ม
8. การอดกลั้น
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการบริหารความขัดแย้งให้เกิดสมดุลนั้น สิ่งแรกที่ผู้นำจะต้องต้องดำเนินการก็คือ การ
สร้างค่านิยมร่วมให้แก่ทีมในเรื่องของ ความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ต้องสร้างให้เป็นมาตรฐาน
ของพฤติกรรม ที่ทุกคนใช้ในการทำงานประจำวัน ผู้นำจะต้องสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมสมาชิกของทีม
แต่ละคนโดยการหมั่นสังเกตและโน้มน้าวให้ยอมรับและประพฤติตามกฎระเบียบที่ได้กำหนดร่วมกันไว้
ผู้นำองค์กรที่มีภาวะผู้นำจะต้องสามารถกระตุ้นการระดมสมองแบบบริหารความขัดแย้งในการสร้างการ
ทำงานเป็นทีม โดยสมาชิกของทีมทุกคนจะต้องมีความรู้สึกว่าได้รับแรงจูงใจและโอกาสที่จะแสดงออกมา
ซึ่งความคิดริเริ่ม และสามารถถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมา เพื่อการหาข้อสรุปหรือข้อยุติ โดย
การคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ
ผู้นำจะต้องมีวิธีที่จะดึงทุกคนออกมาจากเกราะป้ องกันตัวเองเพื่อให้เกิดการถกเถียงกัน
อย่างกว้างขวางในทุกแง่ทุกมุม ก่อนที่จะร่วมกันตัดสินใจ เพื่อให้เป็นฉันทามติของทีม และหลังจากได้
ร่วมกันตัดสินใจแล้ว ผู้นำจะต้องให้ทุกคนยึดกฎในการประชุมที่จะต้องยอมรับและปฏิบัติตามมติของทีม
อย่างเคร่งครัด และไม่นำไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เห็นด้วยหลังการประชุมอีก
แต่ในอีกกรณีหนึ่งที่ความขัดแย้งได้เกินขอบเขตของประเด็นเชิงการบริหารและเข้าสู่ความ
ขัดแย้งในเรื่องส่วนตัว หรือการชิงดีชิงเด่นกันในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน เกิดเป็นความขัดแย้งในเชิงลบ
ไปแล้ว อาจจะทำความเสียหายให้กับองค์กรมากกว่าผลดี ซึ่งในกรณีนี้ผู้นำจะต้องหาหนทางที่จะขจัดความ
ขัดแย้งดังกล่าวให้เร็วที่สุดก่อนที่จะมีการเล่นเกมการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตนเองต่อไป จะเห็นได้ว่า
ภาวะผู้นำเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดหรือขจัดความขัดแย้งใดๆในองค์กร โดยจะต้องสามารถ
วิเคราะห์ให้ได้ว่ามีความขัดแย้งในองค์กรเพียงพอแล้วหรือยัง และความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นกำลังนำ
ผลดีหรือร้ายมาสู่องค์กร และหาวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างทันท่วงที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น