วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภาวะผู้นำ : เทคนิคการนำที่เหนือชั้น

ภาวะผู้นำ : เทคนิคการนำที่เหนือชั้น
ในการสัมมนาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่วารสาร FORTURE ได้จ้างผู้บริหารบริษัทประมาณ 500 บริษัท เข้าร่วมสัมมนา ผู้บริหาร ได้บ่นถึงงานของเขา"ท่านรู้ไหมว่าที่สัมมนานี้วิเศษสุด เพราะไม่มีบุคลากรบริษัทมาทำงานที่นี่"
ท่านอาจมีความรู้สึกเหมือนกับผู้จัดการเหล่านั้น ทำไมผู้บริหารในโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในทุกระดับของสายบังคับบัญชาจึงบ่นเช่นนั้น คำตอบง่าย ๆ ก็คือ   ส่วนมากผู้บริหาร ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เพราะมีความสามารถทางเทคนิคในการทำงานดี   อย่างไรก็ตามในตำแหน่งปริหารทักษะทางด้านเทคนิคมีความสำคัญน้อยกว่าทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์   ผู้บริหารที่ขาดทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์จะรู้สึกอึดอัดกับความซับซ้อนขององค์การปฏิสัม
พันธ์ ท่านต้องพบปะกับคนอื่นทั่วทั้งองค์การ โดยเฉพาะผู้ร่วมงานท่านต้องสร้างสัมพันธ์กับคนอื่นก่อนผู้ที่ก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งบริหารด้วยความสามารถ งานทางด้านเทคนิค ซึ่งรู้วิธีการทำ
สิ่งต่าง ๆ กับรู้วิธีการใช้คนให้ทำงานนั้น ต้องใช้ทักษะแตกต่างกันมาก ความรู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงานนั้นหายไป กลายเป็นความอึดอัดใจที่เกิดจากการที่ต้องใช้ผู้อื่นทำงาน บางครั้งก็เกิดความลังเลใจบ้างเหมือนกัน
               สองสามปีที่ผ่านมา ลอเรนซ เจ ปีเตอร์ ผู้เขียนหนังสือที่ดีที่สุด มีชื่อเรียกว่า  หลักการของปีเตอร์ ได้กล่าวว่า "การขาดทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยทักษะทางด้านเทคนิค"
                หลักการมีอยู่ว่าถ้าผู้บริหารได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นแล้ว   ไม่มีความสามารถเพียงพอจะแก้ปัญหา โดยพื้นฐาน ปีเตอร์ กล่าวว่า      เทคนิคทางวิชาชีพมิใช่เป็นหลักประกันการบริหารงานในอนาคตได้ ถ้าเขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งทางการบริหาร   เขาจะไม่สามารถจะจัดการกับสิ่งท้าทาย แนวทางป้องกันการไม่มีความสามารถทางการบริหารจำเป็นต้องเพิ่มทักษะและความสามารถทางการบริหาร จำเป็นต้องเพิ่มทักษะและความสามารถใหม่ ๆ หลายด้านใน
อนาคต

                คำนิยามการบริหารและหลักการบริหารทั่วไป    การบริหารคือการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยอาศัยความร่วมมือของผู้อื่นแต่ละรายการต่อไปนี้  ในการปฏิบัติการบริหารของอท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านก้าวหน้าตามตำแหน่งที่ได้เลื่อนขึ้น    เราจึงเรียกตอนนี้ว่าพฤติกรรมการนำที่เหมาะสม เพราะเรามีความเชื่อว่า การทำงานให้สำเร็จโดยความพยายามของผู้อื่น หมายความว่า ท่านต้องแก้ปัญหามากกว่าที่จะหนีปัญหา ปัญหาบุคคลที่ท่านต้องเผชิญ   ท่านหนีคนไม่ได้ ท่านคงไม่เอาศรีษะมุดทรายเพื่อไม่ให้เห็นคน  ท่านก็คงไม่สามารถใช้ความก้าวร้าว หรือใช้อำนาจหน้าที่ได้ยาวนาน ให้ท่านทำตามข้อเสนอเหล่านี้
                ท่านต้องนำบุคลากรที่เหมาะสม เมื่อท่านทำแบบนี้เขาจะไม่บ่น ที่ทำงานก็จะเป็นดินแดนสวรรค์ที่มีคนทำงานร่วมกันอยู่ด้วย ท่านก็จะมีความสุข สถานที่ทำงานราบรื่น   ทุกคนทำงานเพื่องาน อละเพื่อท่าน
ยุทธวิธี 19 ประการสำหรับภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
               1. รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับนายของท่าน     สัมพันธภาพที่ดีมีผลโดยตรงกับความสามารถของท่านที่จะสร้างความพอใจ และผูกใจผู้ใต้บังคับบัญชา   ผู้นำที่มีความสามารถได้รับอำนาจจากนายของเขา
                2. ทำตัวอย่างที่ด  ในสิ่งที่ท่านอยากให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติ เช่น    มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ควบคุมอารมณ์ใช้ปัญญา กล้าตัดสินใจ ยีดหยุ่นมีเหตุผล กำหนดวัตถุประสงค์ ริเริ่ม กระตือรือร้น ท่านต้องให้มีคุณสมบัติเหล่านี้     ท่านต้องเป็นแบบอย่าง การเป็นแบบอย่างเป็นยุทธวิธีที่ดีมากสำหรับผู้นำที่มีความสามารถ
                3. บอกความคาดหวังท่านชัดเจน   ท่านคาดหวังอย่างไรกับผู้ร่วมงานที่เขาจะทำให้เกิดความพึงพอใจกับท่าน    อย่าคิดเอาเองว่าเขาจะทราบไม่ต้องกลัวที่จะบอกเขาว่าท่านต้องการอะไร บอกเขาก่อนที่เขาจะทำงาน และเตือนเขาบ่อย ๆ เท่าที่จะทำได้
                4. นัดประชุมเพื่อสร้างทีมให้เข้มแข็ง    ส่งเสริมการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดให้กลุ่มมุ่งเน้นที่เป้าหมาย
                5. ให้รางวัลผู้ให้ความร่วมมือและทำงานหนัก ถ้าให้รางวัลเขาแล้ว เขาจะทำงานดีขึ้น
                6. ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และหาประโยชน์จากความแตกต่างเหล่านั้น 
                7. ให้คำชมบางคนที่ให้ความร่วมมือกับทีมดูวัตถุประสงค์ ความจริงใจ และความถี่ ท่านแน่ใจว่าเขาทำตามความคาดหวังของท่าน และสามารถปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
                8. รับฟังผู้ใต้บังคับบัญชา   ผู้ร่วมงานจะรู้สึกว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ท่านจะได้รับความนับถือและไดรับความจริงใจมากขึ้น    ท่านจะได้ทราบความเป็นไปในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น
                9. เลือกบุคคลที่สามารถทำงานกันเป็นทีม  ไม่มีการฝึกอบรมชนิดใดที่จะเปลี่ยนแปลงบุคลากรที่แปลกแยกจากทีมของท่านได้มากนัก ให้พิถีพิถันในการเลือกคน อย่าต้องมาจ่ายเงินเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งผิด ๆ ทิ้งไว้ให้คู่แข่งของท่านจะสวยกว่า
                10. ร่วมกันกำหนดเป้าหมายทัศนภาพ สร้างแรงจูงใจ และเหตุผลต่าง ๆ  ไม่ต้องบอกว่าเขาต้องทำอะไรในสถานการณ์ต่าง ๆ และให้เขาช่วยตัดสินใจในวิธีการที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้บรรลุผลตามความต้องการต่าง ๆ เหล่านั้น
                11. ยอมรับความผิดพลาด  การยอมรับความผิดพลาดแสดงถึงความเข้มแข็งมากกว่าการแสดงความอ่อนแอ
                12. อย่าให้คำมั่นสัญญาอะไรง่าย ๆ   มีสองสิ่งที่จะเกิดขึ้น เวลาให้สัญญาไม่เป็นสิ่งที่ดีนัก นั่นก็คือ มีความคาดหวังให้เป็นไปตามสัญญา และถ้าไม่เป็นไปตามสัญญา มิตรภาพก็จะสลาย
ไป

                    13. บริหารเวลาให้ด  ควรมีเวลาให้เพื่อนร่วมงานของท่านบ้าง
                    14. มอบหมายงานให้เหมาะสมกับคนสอดคล้องกับความต้องการขององค์กร    สิ่งนี้เป็นคำตอบที่ดีสำหรับคำถามที่ว่า "ข้าพเจ้าจะจู.ใจลูกน้องได้อย่างไร"
                    15. ท่านต้องยอมรับค่าของคนตามความแตกต่างของบุคลากร  ท่านก็คงทราบว่าสิ่งใดที่จะทำให้ท่านรู้สึกดีขึ้น คนอื่น ก็เช่นเดียวกับท่าน ทุกคนต้องการมีความรู้สึกว่าตนเองสำคัญ   ถ้าท่านยกย่องเขา เขาก็ยกย่องท่าน
                    16. แก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างซื่อตรง และยุติธรรม     ให้ตระหนักถึงสไตล์การแก้ปัญหาความขัดแย้งของท่าน เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
                    17. ให้ข้อมูลในการทำงานก่อนที่เขาจะทำงาน     เพื่อนร่วมงานต้องการข้อมูลที่จำเป็นในการทำงาน เมื่อท่านมอบหมายงานท่านต้องให้ข้อมูลเขา
                    18. ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นจากแรงกดดันของแต่ละวันบ้าง  ท่านต้องมีเวลาคิดว่าจะทำอย่างไรดีให้เป้าหมายบรรลุผล ควรจะวางแผนอย่างไร มิฉะนั้นท่านก็จะต้องต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ โอกาสที่ท่านจะประสบความสำเร็จยากมากต้องปล่อยวางบ้าง
                    19. อย่าเป็นคนที่เคร่งเครียดจนเกินไป  ร่าเริงและเป็นกันเองกับลูกน้องบ้าง
9 วิธีการทำงานในการพัฒนาผู้ร่วมงาน
                    1. มอบงานที่สำคัญและงานที่ท้าทายความสามารถ  มอบโครงการที่ต้องเสี่ยงให้โอกาสเขาได้แสดงความสามารถ
                    2. มอบงานที่ท่านเคยทำให้เขารับผิดชอบทีละน้อย ๆ   เป็นการพัฒนาเขาในขณะที่ท่านมีอิสระมากขึ้น เพื่อให้สิ่งที่ท้าทายเพิ่มขึ้น
                    3. ยกย่องบุคคลเมื่อเขาปฏิบัติงานดี  เขาจะประทับใจ และมีแรงจูงใจมากขึ้น      เมื่อเขาทราบว่าท่านพอใจผลงานเขา
                    4. ให้เพื่อนร่วมงานได้มีโอกาสตัดสินใจ หรือขอคำแนะนำบางอย่างจากเขา
                    5. ส่งเขาไปฝึกอบรมการบริหารหรือสัมมนาอย่างน้อยปีละครั้ง  การส่งไปสัมมนาจะทำให้บุคลากรมีความรู้สึกว่า เขามีความสำคัญ และสอนทักษะใหม่ในการทำงาน
                    6. ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างมีวัตถุประสงค์ จริงใจ และบ่อย ๆ  ในช่วงของการประเมินผลการปฏิบัติ จะได้ไม่เกิดความประหลาดใจกับข้อมูล อย่ายกย่องหรือตำหนิจนกว่าจะทำสิ่งดังกล่าว
                    7. อย่าแก้ปัญหาให้เขา  ให้เขาได้แก้ปัญหาเขาด้วยตัวพวกเขาเอง
                    8. ให้สิ่งอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหา หรือตอบคำถามต่าง ๆ  ใช้นโยบายเปิดประตูและเปิดใจ
                    9. ฝึกฝนให้ผู้ร่วมงานได้ทำงานและสามารถรับช่วงงานต่อจากท่านได้ เมื่อท่านได้มีโอกาสไปรับตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้น  การทำงานรับช่วงต่อควรได้รับการฝึกฝนตั้งแต่เดี๋ยวนี้
หลักเกณฑ์ 10 ข้อ ในการมอบหมายงาน
                    1. ต้องแน่ใจผู้ใต้บังคับบัญชามีทักษะ มีความสามารถ ความสามารถพิเศษและสามารถที่
จะทำงานได้

                    2. ให้ตรวจสอบกับเจ้านายของท่าน       จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถึงแม้ท่านจะได้รับการอธิบายอย่างถี่ถ้วน นอกจากจะต้องแน่ใจว่า เจ้านายตกลงที่จะให้คุณเลิกความรับผิดชอบในเรื่องนั้น
                    3. อย่ามอบหมายงานที่ต่ำต้อย แต่ต้องเป็นงานที่สำคัญ  ผู้ใต้บังคับบัญชาจะได้เห็นว่าท่านมั่นใจในตัวเขา
                    4. มั่นใจว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจงานอย่างชัดเจน    ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจว่า ท่านต้องการให้เขาทำงานนั้นให้สำเร็จ
                    5. ยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานได้ มิใช่เพียงวิธีการของท่านเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม      ถ้ามีกฎเกณฑ์หรือข้อจำกัดที่อาจจะต้องปฏิบัติตามท่านต้องแน่ใจว่าได้มีการสื่อสารกันอย่างดี

                    6. จัดหาให้มีทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน       ถ้าท่านมอบหมายงานจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นด้วย
                    7. ให้สิ่งอำนวยความสะดวก  จัดให้มีเครือข่ายช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา   อย่ามีการตรวจตราอย่างเข้มงวดเกินไป
                    8. ถ้าผลงานดีก็ยกย่องเขา
                    9. ถ้าผลงานไม่ดี บอกวิธีการที่จะปรับปรุงให้ด้วย
                    10. มอบหมายงานให้บ่อยขึ้น ทุกคนก็จะชนะ
                   

ข้อแนะนำ 7 ประการในการสื่อสารสู่เบื้องบน
                    1. จัดการบบริหารแบบ MBWA (Managing by Walking Around)      การบริหารแบบเดินไปรอบ ๆ ค้นหาว่าอะไรเกดขึ้นกับคนของท่าน อย่าคุยให้ถามคำถามเขาและฟังเขาพูด
                    2. ใช้นโยบาย เปิดประตู ให้ผู้ร่วมงานทราบว่าถ้าท่านมีปัญหาเขาสามารถมาพบท่านได้
                    3. บอกให้เพื่อนร่วมงานทราบว่าไม่ควรปกปิดข่าวร้ายให้หน่วยงานทราบ
                    4. อย่าแสดงปฏิกิริยาที่ไม่ดีเมื่อได้ยินบางสิ่งที่ผิดพลาด อย่าตำหนิคนที่นำข่าวมาบอก
                    5. จัดให้มีช่วงระยะเวลาเพื่อรวบรวมข้อมูล กิจกรรมสังคม เช่น อาจมีการไปปิคนิคจัดงานปาร์ตี้ รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน    พื่อนร่วมงานของท่านอาจให้ข้อมูลบางอย่างในสำนักงานเวลาจัดปิคนิค หรือมีกิจกรรมทางสังคมท่านอาจได้รับความสะดวกในการรับข้อมูล
                    6. ในการประชุมผู้ร่วมงานสถานภาพปรกติ  อย่าประเมินค่าสูงเกินไปกับรายงานที่ได้ยิน
                    7. แสดงให้เห็นว่า ท่านคือปุถุชนธรรมดา  หัวเราะเยาะตัวเองบ้าง ยอมรับว่าตัวเองก็ทำผิดได้ ขอโทษผู้ร่วมงานเมื่อทำผิดหรือทำร้าายจิตใจผู้อื่น ถ้าท่านคิดว่าท่านเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา     ท่านต้องศึกษาให้มากขึ้น
9 วิธีในการสอนงาน
                    1. กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะสอน ห่างจากสถานที่บันเทิงเริงรมณ์อย่าให้เขาดำเนินการกันเอง เราต้องจัดการให้เป็นขั้นตอน
                    2. คาดการณ์ ความรู้สึก ความต้องการ ความสนใจของผู้ร่วมงาน    ให้นึกถึงตอนที่ท่านรับงานนึกถึงความรู้สึกและปัญหาต่าง ๆ     ที่ท่านต้องทำความเข้าใจกับการสอนงานที่ซับซ้อนจากนายของท่าน
                    3. ขอร้องให้ผู้ร่วมงานบอกกับท่านว่า เขารู้อะไรเกี่ยวกับงานมาบ้างแล้ว    เติมเต็มในช่องว่างในการสอนงานให้เข้าใจ
                    4. ให้ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมใช้ภาษาให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงภาษากำกวมถ้าเป็นไปได้  พูดภาษาเดียวกันกับผู้ร่วมงานเพื่อความเข้าใจ
                    5. อย่าพูดมากเกินไปในสิ่งที่เห็นชัดแจ้ง  พูดในสิ่งที่เขาไม่รู้ ไม่ใช่พูดในสิ่งที่เขาทำ
                    6. ถ้าเป็นไปได้ให้สาธิตการทำงาน     แสดงให้เพื่อนร่วมงานดูว่าควรทำงานอย่างไร ถ้าไม่สามารถสาธิตได้ ต้องพยายามบรรยายให้เห็นภาพของงานอย่างสมบูรณ์หรือยกตัวอย่าง
                    7. ให้ผู้ร่วมงานทดลองทำดู    สอนงานและให้คำปรึกษาพร้อมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับ ถ้าการปฏิบัติมีการผิดพลาดต้องบอกได้ว่าทำไมผิดพลาด และทำตัวอย่างให้ดู ถ้าเขาทำถูกก็ชมเชยเขา
                    8. ขอร้องให้เพื่อร่วมงานซักถามถ้าเขามีปัญหา     ตอบคำถามอย่างสุภาพ อย่าดูถูกว่าเขาถามคำถามโง่ ๆ
                    9. บอกเพื่อนร่วมงานว่าท่านจะให้สิ่งอำนวยความสะดวกเมื่อมีปัญหาหรือมีคำถาม     ท่านต้องทำตัวให้เพื่อนร่วมงานแน่ใจว่า สามารถพบได้ง่า     ถึงแม้เพื่อนร่วมงานคนนั้นจะเป็นคนที่มีความละอาย หรือไม่เชื่อมั่นตนเองก็ตาม
11 ขั้นตอนกับการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล
                    1. เตรียมผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน  ก่อนประเมินผลการปฏิบัติงาน 1   สัปดาห์ บอกให้เขารับทราบล่วงหน้า เพื่อวิเคราะห์ตนเองอย่างถี่ถ้วนของผลการปฏิบัติงาน ในช่วงก่อนการประเมินผลงาน
                    2. ใช้เวลาประเมนผลอย่างน้อย 45 นาที 
                    3. ในระยะเริ่มต้นการประเมินให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกสบาย ๆ การประเมินผลการปฏิบัติงานควรปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานอย่างดีที่สุด ลดปัญหาอุปสรรค     หรือการปกป้องตนเองให้ทบทวนการปฏิบัติงานที่ได้ทำมาด้วยคำพูดง่าย ๆ
                    4. มุ่งเน้นในการประเมินผลการปฏิบัติงานและพฤติกรรม ตัดสินเฉพาะเรื่องบุคลิกภาพ   ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานดี หรือไม่ดีอะไรต้องทราบชัดเจนอย่าลืมยกตัวอย่างให้ชัดเจน
                    5. อย่าเน้นระดับคะแนนตัวเลขในแบบฟอร์มมากนัก  จะทำให้เพื่อนร่วมงานขยาดในตอนที่จะออกจากห้องคุณโดยใช้วิธีการสอนงาน 4 แบบ   การให้คำปรึกษาและแผนเฉพาะในการพัฒนามีความสำคัญมากกว่าตัวเลขที่กรอกไว้ในแบบฟอร์มนั้น      จงคุยและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของตัวเลขมากกว่าตัวเลขล้วน ๆ
                    6. ขอร้องให้เพื่อนร่วมงงงานรับรู้การปฏิบัติงานของเขาถ้าการรับรู้ของท่านกับการประเมินผลแตกต่างกัน ปัญหาก็คือจะต้องวินิจฉัยว่าทำไมอีก ขอร้องให้เพื่อนร่วมงานมีจุดมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัต
ิงานและพฤติกรรม (ไม่ใช่ความตั้งใจหรือความพยายาม)

                    7. เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับมาตราฐานและความคาดหวัง  ถ้า
ท่านไม่ได้กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานหรือความคาดหวัง    ท่านต้องแก้ไขทันที ต้องแน่ใจว่าการประเมินผลได้มาตรฐานสำหรับโอกาสต่อไป

                    8. ต้องแน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานใช้ภาษาเดียวกับท่านในการประเมินผล  ขอร้องให้เพื่อนร่วม
งานให้คำนิยามและตีความหมายในรูปแบบฟอร์มการประเมินถ้าท่านใช้แบบฟอร์มกับทุกคน

                    9. มีการสอนแนะนำและให้คำปรึกษาในการใช้แบบประเมินผล  ท่านจะทำอะไรที่จะช่วยให้เพื่อนร่วมงานของท่านปฏิบัติงานได้ดีขึ้นในอนาคต
                    10. สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน    พัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาของการปฏิบัติงาน  ท่านจะขจัดช่องว่างของพฤติกรรมที่เป็นอยู่กับพฤติกรรมที่คาดหวังได้อย่างไร อะไรที่เพื่อนร่วมงานมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปเมื่อไร
                    11. สรุปการสัมภาษณ์ให้ชัด ทำความเข้าใจให้ตรงกัน  เพื่อร่วมงานได้บอกท่านว่าได้ทำอะไรนั่นคือผลการประเมินและทำไมต้องทำเมื่อเสร็จกระบวนการก็ให้เพื่อนร่วมงานลงนามในแบบฟอร์มการประเมิน
เหตุผล 8 ประการที่หัวหน้างานไม่ให้คำยกย่องที่เขาควรจะให
                    1. ผู้บริหารบางคนคาดหวังสูงสุดไม่จำเป็นที่จะต้องให้รางวัล
                    2. ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จสูงอาจจะยากที่จะยอมรับความสำเร็จของเพื่อนร่วมงาน ซึ่งไม่ได้ศึกษามาตรฐานส่วนตัวของเพื่อนร่วมงานเลย
                    3. ผู้บริหารบางคนมีความเชื่อว่าการลงโทษสร้างแรงจูงใจได้มากกว่าการให้รางวัล
                    4. ผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูในแบบเด็ก      ไม่มีโอกาสเป็นตัวของตัวเอง เมื่อโตขึ้นก็จะประสบความยุ่งยากในการปรับตัว
                    5. ผู้บริหารอาจไม่มีเวลาพอที่จะทำความเข้าใจกับความสำเร็จครั้งสำคัญ    ของเพื่อนร่วมงาน
                    6. วัฒนธรรมดั้งเดิมขององค์การหรือบรรยากาศ อาจไม่ส่งเสริมการยกย่องกัน
                    7. บุคลากรบางคนสักแต่ว่าทำงานไม่เคยทำงานไห้ดีขึ้นเลยในสายตาของผู้บริหารที่จะให้
การยกย่อง

                    8. คำพูดแก้ตัวของผู้บริหารที่ให้การยกย่องลูกน้องน้อยก็คือ ผมมีงานมากไม่มีเวลา
10 สถานการณ์ที่การยกย่องไม่สร้างแรงจูงใจ
                    1. ผู้รับคำยกย่องไม่นับถือคนให้คำชม
                    2. ผู้รับคำยกย่องไม่ไว้เนื้อเชื่อใจคำชมของผู้ให้ ถ้าผู้ให้คำยกย่องไม่มีประวัติในการให้คำ
ยกย่อง ผู้รับอาจสงสัยในพฤติกรรม

                    3. การทำงานดี ไม่มีความสำคัญกับผู้รับ (หรือผู้ให้)
                    4. ผู้ให้คำยกย่อง ยกย่องมากเกินไป ถ้าชมมากเกินไป คำชมก็ไม่มีความหมาย
                    5. ผู้ให้คำยกย่อง ยกย่องบ่อยเกินไป ถ้าท่านยกย่องทุกคนหรือทุกวันคุณค่าก็น้อยลง
                    6. ผู้ให้คำยกย่องไม่เต็มใจ ดังนั้นจึงเป็นลักษณะไม่จริงใจ
                    7. การให้คำชมจะเกิดผลหรือเกิดผลลบก็ได้ ถ้าชมบ่อย ๆ ในลักษณะเดิม "ต้องให้ได้อย่างนี้ซิ"
                    8. ยกย่องในสถานที่อันไม่พึงควร ยกย่องไม่เหมาะกับสถานที่ บางคนรู้สึกละอายที่จะได้รับคำยกย่องในที่สาธารณชน คนอื่นอาจรู้สึกผิดหวังที่ได้รับคำชมในที่ลับ บางครั้งเพื่อนร่วมงานอิจฉาเมื่อคนอื่นได้รับการยกย่อง ท่านต้องรู้วิธีการว่าคนไหนต้องการให้ยกย่องแบบไหน
                    9. พฤติกรรมที่ผิดได้รับการยกย่อง อย่ายกย่องการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
                    10. ผู้รับไม่พึงพอใจกับเงื่อนไขต่าง ๆ ของการจ้าง การยกย่องอาจไม่สร้างความประทับใจกับบุคลากรเมื่อเขารู้สึกว่าเขาได้เงินเดือนน้อยทำงานหนัก หรือได้รับการดูแลที่ไม่ดี การยกย่องชมเชย
จะได้รับผลถ้าได้ปรับบรรยากาศในองค์การไม่มีสิ่งใดที่ทดแทนได้เท่ากับค่าจ้างที่เป็นธรรม       และการปฏิบัติต่อกันด้วยความเอื้ออาทร

คำถาม 11 ข้อกับปัญหาการปฏิบัติงาน                   1. บุคลากรทราบแน่ชัดไหมว่าเขาต้องทำงานอะไรบ้าง?  ท่านทราบได้อย่างไรว่าเขาไม่รู้               
                  2. บุคลากรทราบถึงคุณภาพของการปฏิบัติงานที่คาดหวังไหม?ท่านทราบว่าเขารู้ได้อย่างไร       
                   3. บุคลากรได้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องไหมในอดีตที่ผ่านมา ?    ถ้าตอบคำถามนี้ว่าใช่ คำตอบข้อ 1 ข้อ 2      ก็อาจตอบว่าใช่ด้วย คำตอบว่าใช่เป็นข้อแนะนำว่าเหตุการณ์บางอย่างอาจเป็นสาเหตุของปัญหา
                 4. มีบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อมการทำงานของบุคลากรเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในในการปฏิบัติงานไหม ?
                 5. โดยสภาพของงาน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น บุคคลลากรต้องเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงาน
ไหม ท่านจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรในการทำงานไหม ท่านาราบไหมว่ามีความแปลกแยกเกิดขึ้นกับบุคลากร
                6. บุคลากรต้องการทำงานให้ดีขึ้นไหม ? โดยแท้จริงบุคลากรส่วนมากต้องทำงานที่ดีมากกว่าที่ผู้บริหารคิด
                7. บุคลากรมีทรัพยากรพอเพียงในการปฏิบัติงานไหม ?   ถามตัวเองว่า "บุคลากรมีข้อมูลและสิ่งอำนวยความสะดวกพอเพียงที่จะทำงานให้ท่านไหม  ?
                8. บุคลากรขาดความสามารถในการปฏิบัติงานไหม ?    ถ้าบุคลากรขาดความสามารถในการปฏิบัติงานต้องฝึกอบรมหรือมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถบางอย่าง
                9. มีปัญหาเรื่องเข้มงวดในเรื่องคุณสมบัติที่เหมาะสมหรือไม่ ?         สถานการณ์ที่จะทำลายงานอีกอย่างก็คือบุคลากรไม่ได้รับสิ่งที่ท้าทายในการทำงานการเข้มงวดในเรื่องคุณสมบัติบางอย่างอาจทำให้เกิดการเบื่อหน่ายหรือละทิ้งงาน
              10. บุคลากรทราบว่า เขาทำงานไม่ได้ตามความคาดหวังของนายไหม ?            ท่านได้พูดถึงความคาดหวังไว้ชัดเจนไหม ไม่ใช่คิดเอาเองว่าบุคลากรจะทราบหรือเข้าใจว่าเขาจะต้องคิดเอาเอง
              11. ท่านควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอะไรบ้าง ?    ถ้ามีเพื่อนสนิทหรือผู้ทราบสถานการณ์ว่าใครควรจะบอกความจริงกับท่านได้

 ข้อเสนอแนะ 15 ประการ สำหรับให้คำวิจารณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม                   1. วิจารณ์ในที่ลับ  อย่าเสี่ยงโดยการทำให้เขาเกิดความละอาย หรือทำให้เขาเกิดมีความรู้
สึกว่าถูกลดศักดิ์ศรี
                  2. แน่ใจว่าผู้รับคำวิจารณ์มีความสนใจและมีอารมณ์พร้อมที่จะรับฟัง     ข้อมูลย้อนกลับมิใช่การได้ยินมา
                  3. คอยให้ผู้รับคำวิจารณ์หายโกรธหายเจ็บใจหรือไม่มีความยุ่งยากใจก่อน
                  4. อย่าพูดออกไปด้วยอารมณ์โกรธ  สงบอารมณ์ต้องวิจารณ์อย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน
                  5. ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่แสดงออกมิใช่ตัวบุคคล    มุ่งเน้นไปถึงพฤติกรรมที่เขาได้ทำมากกว่าบทบาทบุคคลที่เขาเป็น
                 6. วิจารณ์ให้ชัดเจน และตรงประเด็น      ยกตัวอย่างที่เป็นจริง เสนอเขาก่อนที่เขาจะต้องขอจากท่าน เพื่อท่านจะได้ไม่ถูกโจมตีมากกว่าการป้องกันตนเอง
                 7. ตอบคำถามให้เข้าใจ  ให้แน่ใจว่าผู้รับคำวิจารณ์เข้าใจสิ่งที่ท่านพูด   เขาเข้าใจคำวิจารณ์ของท่านอย่างไร ท่านแน่ใจว่าข้อมูลและสมมติฐานที่ท่านให้ใหม่สด คำวิจารณ์เขาถูกต้องเป็นจริง
                 8. ให้คำวิจารณ์ในขณะที่พฤติกรรมต่าง ๆ ยังใหม่สด ประทับอยู่ในใจทั้งสองฝ่ายจะมีผลกระทบสูงที่สุด
                9. ซื่อสัตย์ต่อตนเองกับเป้าหมายที่ตั้งไว้  ถ้าความตั้งใจของท่านต้องการลงโทษผู้รับจะเข้าใจได้เอง (ถึงแม้ท่านจะไม่) และกลายเป็นการปกป้อง
              10. เข้าใจและเห็นใจสถานการณ์ของผู้รับคำวิจารณ์    สิ่งนี้จะทำให้ผู้รับคำวิจารณ์เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ
              11. หลีกเลี่ยงการสื่อสารที่แสดงถึงจุดยืนที่เหนือกว่า ทั้งทางความรู้ อำนาจ   ไม่ควรมีข้อมูลในลักษณะที่จะบอกถึง     "ผมเหนือกว่าคุณ"
             12. หาสิ่งสนับสนุนและพยายามสังเกตอย่างถี่ถ้วน อย่าสักแต่ว่าพูดโดยไม่มีความคาดหวังอะไร เช่น แทนที่คุณจะพูดว่าคุณมาสาย ก็ให้พูดเจาะจงไปเลย คุณมาถึงโต๊ะคุณเวลา 9.00 น. เป็นเวลา 3 ครั้งในเดือนที่ผ่านมา
            13. อย่ามอบงานาโดยมุ่งเน้นแก้เผ็ดคน คุณไม่อยากทำงานให้มันดีขึ้นเลยนะ   การพูดเช่นนี้รังแต่จะก่อให้เกิดการต่อต้าน ดังนั้น ควรเฉพาะเจาะจงต่อพฤติกรรมนั้น เช่น คุณใช้วิธีนี้ผมรับไม่ได้
            14. มุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมต่าง ๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้     ถ้าท่านสามารถเปลี่ยนแปลงได้ก็อย่าไปให้คำวิจารณ์
            15. อย่าวิจารณ์มากเกินไปจนรับไม่ได้ จะทำให้เกิดความเครียด

10 ขั้นตอนเพื่อการวิจารณ์ที่ประสบความสำเร็จ
                    1. บอกกับเขาถึงเหตุการณ์พฤติกรรมหรือการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณ  "เมื่อเช้านี้ตอนที่ประชุมคณะทำงาน เมื่อเจ้านายถามผมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพวกเรา คุณก็พูดสอดขึ้นมาในขณะที่ผมกำลังจะตอบคำถามเจ้านาย"
                    2. บอกกับเขาว่า เหตุการณ์และพฤติกรรม หรือการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดปัญหาอย่างไร
ผมสามารถบอกกับคุณได้ว่าใบหน้าของเจ้านายดูแปลกประหลาดใจที่ผมทำไมจึงยอมให้ผู้ใต้บังคับ
บัญชาตอบคำถามแทน นอกเหนือจากนั้นผมไม่ต้องการให้คุณใช้รูปแบบของการรายงานแบบนั้น

                    3. บอกว่าท่านรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์นั้น  ผมรู้สึกละอายใจต่อนายของผมและรู้สึกผิด
หวังในตัวคุณด้วย เราไม่ได้ประสานกันเลย ไม่ได้ป้องกันสิ่งที่เกิดขึ้น

                    4. ถามบุคคลที่เสนอข้อมูล ให้เขาชี้แจงบางสิ่งที่ท่านรู้มาไม่ตรงกัน แทนที่ผมควรจะต้อง
พูด "ทำไมคุณพูดอย่างนั้น คุณควรพูดแทนที่จะเป็นผมพูด" ฟังคำตอบจากเขา

                    5. เสนอแนะการกระทำที่ถูกต้องเริ่มแรกให้เราตกลงร่วมกันว่า การรายงานการปฏิบัติงานที่จะจัดขึ้นเมื่อพวกเราได้วางแผนไว้สำหรับการประชุมให้เรานั่งตรงข้ามโต๊ะกันในการประชุม เราจะได้
ส่งสัญญากันได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ

                    6. ถ้าเป็นไปได้ ควรให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหา "ท่านมีความคิดอื่นอีกไหม หรืออย่างน้อยเราสามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร"
                    7. มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในอนาคต     "ท่านเห็นด้วยว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการปรึกษาหารือในที่ประชุมผู้ร่วมงานไหม ? ท่านทราบปัญหาในการดำเนินการไหม ?
                    8. บอกถึงประโยชน์ที่ท่านได้รับ "คุณได้มาร่วมประชุมกับผมปีครึ่งแล้ว และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมมีความรู้สึกบางอย่าง แต่ก็ประทับใจคุณมากที่คุณให้ข้อมูล    ผมมั่นใจว่าคุณจะให้ประโยชน์กับเราอีกในอนาคต"
                    9. ปล่อยให้คำพูดของท่านฝังแน่นในความทรงจำ อย่าพูดอะไรอีก ปล่อยในความทรงจำ อย่าพูดอะไรอีก ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว ให้เสียงของท่านก้องอยู่ในหูและความทรงจำ ถ้าท่านไม่มีความคำถามอย่างอื่นหรือข้อเสนอแนะอื่นใดท่านควรกลับไปทำงานต่อ
                    10. ติดตามพฤติกรรม  ติดตามว่าสิ่งที่เขาให้คำมั่นไว้นั้นได้นำไปสู่การปฏิบัติ หาโอกาสชมเชยเขาที่เขาเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่
กฎ 9 ข้อสำหรับการตำหนิ
                    1. ท่านต้องแน่ใจว่าข้อมูลถูกต้อง  อย่าตำหนิผู้ร่วมงาน ถ้าไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง
                    2. ตำหนิทันทีหลังจากที่มีการฝ่าฝืนเกิดขึ้น การตำหนิจะไม่มีประสิทธิผล ถ้าปล่อยเวลาให้ผ่านไปนานหลังจากที่มีการฝ่าฝืน
                   3. ท่านต้องแน่ใจว่า ท่านใจสงบก่อนที่จะตำหนิ   การตำหนิควรเป็นการแก้ปัญหาไม่ใช่เป็นการกล่าวหาหรือฟ้อง ระวังน้ำเสียง
                   4. ตำหนิในที่ลับ อย่าเพิ่มความเจ็บช้ำให้กับเขา เป้าหมายของท่านคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่ควรทำให้เขาได้รับความอายหรือโกรธแค้น
                   5. ชี้พฤติกรรมผิดที่ชัดเจน ไม่ใช่เรื่องทั่ว ๆไปสิ่งใดที่ผู้ร่วมงานทำผิดข้อมูลอะไรที่ท่านต้องมี 6. อย่าวินิจฉัยหรือปฏิบัติต่อเขาอย่างไม่เป็นธรรม การตำหนิต้องมั่นคง   ยุติธรรมเสมอต้นเสมอปลายกับทุกคน
                  6.มีการสอนแนะและให้คำปรึกษา  ผุ้ร่วมงานอาจจะทำอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
                  7. สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมผู้ร่วมงาน  ชี้นำในทางที่ดี มองโลกในแง่ดี ผู้ร่วมงานจะได้ปรับปรุงการทำงานและทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุวัตถุประสงค์
                 8.. สร้างความเข้าใจอันดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย  อะไรเกิดขึ้น ทำไมจึงเกิดขึ้น    จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไร เมื่อไร เหตุผลอะไรที่จะไม่เปลี่ยนแปลง

                  9. หยุดการตำหนิ ให้ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานคนนี้เหมือนกับคนอื่น    อย่าพยายามจับผิดนอกเสียจากการกระทำนั้นได้รับการแก้ไขแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น