วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์(Strategic Leadership)”

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์(Strategic Leadership)” 
 บทวิเคราะห์ “ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์(Strategic Leadership)”
ในบทความของ อาจารย์.สิทธิชัย ฝรั่งทอง ได้กล่าวถึงภาวะผู้นำโดยรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ว่าผู้นำนั้นจะต้องมีความรู้บางอย่างในทุกอย่าง หรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง "Know something in everything" หรือ "Know everything in something" สามารถนำไปใช้ได้ในทุกวิชาชีพ
แต่คำว่าภาวะผู้นำนั้นคือการเป็นผู้นำซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่น และการสนับสนุนให้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร (DuBrin, 1998:2) หรือ ความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่างผู้นำและผู้ตาม ที่มีความตั้งใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงนั้นสะท้อนจุดหมายที่มีร่วมกันระหว่างผู้นำและผู้ตาม (Draft, 2005:5) [1]
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าผู้นำนั้นเน้นที่ความสามารถ (Leader Competencies) และความสามารถนั้นต้องพัฒนาโดนเน้นพัฒนาที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.       การพัฒนาตน (Self-Development)
2.       การพัฒนาบุคคลอื่น หรือพนักงานในองค์กรของตน (Others Development)
อาจารย์.สิทธิชัย ฝรั่งทอง ยังบอกต่ออีกว่า “เรียนเรื่องภาวะผู้นำจากตำราเพียงอย่างเดียวไม่ได้จะสอนจากประสบการณ์ เช่น ถ้าบริษัทไหนล้มเหลว ก็จะนำความล้มเหลวนั้นมาพูดคุยกันว่าทำไมถึงล้มเหลว แล้วถ้าคุณเป็นผู้บริหารจะทำอย่างไร และถ้าเกิดความสำเร็จก็จะประเมินกันว่าสำเร็จเพราะอะไร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้ความเป็นผู้นำแหลมคมขึ้น
ดังนั้นผู้นำต้องมีความสามารถด้านการมองโลกแบบโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ศึกษาความสำเร็จและความล้มเหลว ของธุรกิจที่มีการหยุดนิ่งหรือกำลังเดินไปด้วยดีนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Change) (อัมพร แสงมณี, 2552.) และเพื่อที่จะต้องทำความเข้าใจกับกรณีศึกษา ซึ่งสามารถนำมาเป็นเงื่อนไขของปรับองค์การให้แข่งขันต่อไปได้ โดยผู้นำจะต้องปรับองค์กรเป็น”องค์การแบบโลกาภิวัฒน์ (Global Organizations) ดังกรณีตัวอย่างที่แสดงไว้ในกรอบ[2]


Alchemy Language Exchange is an Internet-enabled, high-performance Translation Memory (TM) database server. Powered by Microsoft SQL Server technology, it is a solution for successful global organizations that require reliable, high performance, flexible, secure and shared access to their linguistic assets.

บทความยังแสดงให้เห็นว่า “บางตำราบอกว่าไม่มีใครสอนใครได้ในเรื่องภาวะผู้นำ แต่สามารถช่วยเขาให้เรียนรู้ได้(
No one can teach anybody in Leadership but we can help them to learn) ซึ่งภาวะผู้นำในด้านใดด้านหนึ่งอาจจะทำได้ดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำได้ดีหมดทุกเรื่อง
คงอาจจะต้องกล่าวว่าเป็นบางตำราจริง ๆ เพราะอันที่จริงแล้วการเกิดผู้นำที่มีภาวะนั้น จะต้องมีพื้นฐานที่ดี ตัวอย่างเช่น กีฬากอล์ฟ คุณจะต้องมีพื้นฐานของทฤษฎี ของแต่ละท่าและขั้นตอน ที่คุณจะเล่นมัน ไม่ว่าจะเป็นการจับไม้ (Grip) ยืนที่ต้องถูกท่า (Address) จะต้องเรียนรู้ คุณถึงจะมีพื้นฐานที่ดี (Basic) ดังนั้นภาวะผู้นำในองค์กรธุรกิจจะต้องพึ่งองค์การที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge-based Organization) จะเกิดการใช้ผู้นำร่วมกัน (Shared Leadership) ดังกรณีตัวอย่างที่แสดงไว้ในกรอบของ how does Shared Leadership work[3]
 


 How does Shared Leadership work?
                        Our SL model consists of the Coordinating Council, three committees, working groups and the board. The Coordinating Council holds responsibility for keeping the organization on track with our mission, vision and strategy, and organizational legal, financial and community accountabilities. The Council is comprised of three staff members, each of whom is engaged in and represents a key area of the organization's work: Research, Capacity-Building, and Support Services Committees. Council tenures rotate on a staggered cycle among each committee's members giving everyone the opportunity to serve while maintaining structural continuity.
                        The three committees coordinate programmatic and support services work. Every staff member sits on one of the committees, engages in the work and ensures that program and support services function well. Committees are responsible for ensuring staff members are supported in their work and that they are meeting their responsibilities.
                        Working groups handle the day-to-day tasks of the organization: supporting community-based research, transferring research capacity to communities, providing research support to social justice efforts, fundraising, bookkeeping, financial management, governance, operations, communications, human rights/resources. Staff collaboration in operating the organization helps ensure that organizational knowledge is shared, not lost when staff members move out of the organization.

ภาวะผู้นำนั้นก็คือความเป็นผู้นำนั้นเอง ซึ่งมีอยู่หลากหลายแบบ ในบทความได้ยกตัวอย่าง ภาวะผู้นำในยามวิกฤต ภาวะผู้นำในภาวะปกติ ภาวะผู้นำทางการเมือง ภาวะผู้นำในเศรษฐกิจ ภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ดังนั้น ตามหลักการจริง ๆ แล้วการที่จะเกิดภาวะผู้นำนั้นมันขึ้อยู่กับสถานการณ์ในยามวิกฤต และมีบุคคลใดหรือบุคคลหนึ่งมาเป็นผู้เสนอแนวคิด ออกคำสั่งตามกลยุทธเขาได้เสนอแนะมาและทุกคนทำตาม และพาให้รอดปลอดภัยมาได้แก้ปัญหาได้ เหมือนเราดูภาพยนต์เรื่องตึกนรกที่มีผู้นำออกมาจากตึกได้ ตัวอย่างปัจจุบันภาวะผู้นำของนักการเมือง ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะต้องแสดงบทบาทและหน้าที่ เพื่อจะต้องแก้ปัญหาด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ สอนกันไม่ได้ และต้องมีการหล่อหลอมสะสมประสบการณ์ ต้องผ่านกระบวนการของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึ่งจะเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ การเกิดภาวะผู้นำนั้นจะต้องบูรณาการทั้ง 3 ทักษะของ Robert Lukasz[4] ทักษะด้านเทคนิคของการปฏิบัติงาน (Technical Skill) ภาวะผู้นำในยามวิกฤตที่มีอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย ผู้นำที่เข้าทำการช่วยเหลือจะต้องมีความรู้และความสามารถด้านเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้เครื่องมือ เช่น อุบัติภัยจากแผ่นดินไหว ตึกถล่มทับคน ผู้นำจะต้องมองออกว่าจะช่วยได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนทักษะในเรื่องคน (Human Skill) จะต้องเข้าใจคนแต่ละกลุ่มแต่ละภาวะที่เขาจะต้องชักจูงใจอย่างไรที่จะให้คนเหล่านั้นมาช่วยให้งานสำเร็จได้ และทักษะด้านความคิด(Conceptual Skill) ภาวะผู้นำที่เกิดได้นั้นเขาต้องมีความรู้ทางทฤษฎีหลักการ และมีความคิดเชิงระบบที่เป็นบวก (Positive Thinking) จึงจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดได้
นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความหมายของผู้นำไว้ว่า "ผู้นำคือ คนที่คิด คนที่พูด คนที่ทำอะไรแล้วคนอื่นเชื่อถือ อยากทำตาม อยากช่วยเหลือ อยากสนับสนุน" คำกล่าวของนายอานันท์ ปันยารชุน ถ้าพิเคราะห์ดี ๆ แล้ว สอดคล้องกับ สามทักษะของ Robert L.Katz จะขอยกตัวอย่างภาวะผู้นำของประธานาธิบดี บารัก โอบามา ที่แสดงออกด้านผู้นำ คนที่คิดดี คนที่พูด คนที่ทำอะไรแล้วคนอื่นเชื่อถือ อยากทำตาม อยากช่วยเหลือ อยากสนับสนุน จนได้รางวัลโนเบล[5]
ประธานาธิบดี บารัก โอบามา พอได้รางวัลโนเบล ก็รีบประกาศว่า แปลกใจและรู้สึกเป็นเกียรติ ถ่อมตนด้วยว่า คงจะไม่สามารถเปรียบกับผู้ได้รับรางวัลโนเบลคนอื่น
เสียงวิพากษ์วิจารณ์พรรคอเมริกาทั่วโลกว่า เอ๊ะ ทำไมจึงให้โอบามาได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ทั้งๆ ที่เพิ่งจะรับตำแหน่งยังไม่เกิน 1 ปี ผลงานก็ยังต้องพิสูจน์กัน แต่คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบล ประกาศว่า แนวทาง นโยบาย ที่บารัก โอบามา นำมาใช้ ทำให้โลกเกิดสันติขึ้นมาทันที อย่างน้อยที่สุด บรรยากาศการเจรจาต่อรองก็ดีกว่า สมัยอดีตประธานาธิบดีบุชแน่นอนครับ เขาไม่ได้เอ่ยชื่อบุช แต่จากการวิเคราะห์ชัดเจนว่า คณะกรรมโนเบล มองบุชเป็นศัตรูต่อสันติภาพ ฉะนั้น เป้าหมายของคณะกรรมการชุดนี้จึงไม่ใช่ให้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ แก่โอบามา เพราะโอบามาได้สร้างผลงานแล้ว แต่ให้กับ ความพยายาม แนวทาง นโยบาย การยื่นมือให้แก่ประเทศที่เคยเป็นศัตรูกับสหรัฐ ความพยายามที่จะลดอาวุธนิวเคลียร์ในโลก และการที่ทำให้ความตึงเครียดในสมัยอดีตประธานาธิบดีบุชนั้น ผ่อนคลายทันที โอบามา ก็รู้ครับ บอกว่า รางวัลโนเบล ไพรซ์นี้ ให้เขาเพื่อทำงาน ไม่ใช่เป็นการตอบแทนผลงาน เพราะโอบามายอมรับว่า ภารกิจข้างหน้า ยังมีอีกมากมายนักเสียงวิจารณ์ดังขรมไปทั่วโลก ฝ่ายที่ไม่ชอบโอบามานี่บอกเลยว่า นี่เป็นตลกร้าย ของคณะกรรมการโนเบล แม้กระทั่งคนอเมริกันเองหลายคน ก็บอกว่า ให้ รางวัลนี้แก่โอบามา เพราะอะไรหรือ ? ผลงานก็ยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่ว่า ก็ไม่น้อยที่มองว่า โอบามาควรจะได้รับรางวัลนี้ เพื่อเป็นการมอบหมายภารกิจให้โอบามาทำให้สำเร็จ นั่นคือ ทำให้โลกนี้มีสันติภาพ ให้เจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์ และให้คนที่ไร้โอกาสทั่วโลก คนผิวดำ ชนกลุ่มน้อย ผู้ยากจน ที่สมัยหนึ่งไม่อยู่ในข่ายมีอำนาจต่อรอง เมื่อเห็นภาพลักษณ์ของโอบามา แนวทาง ทิศทาง แล้ว น่าจะมีความหวังมากขึ้น แล้วแต่คุณจะมองว่า โอบามายืนอยู่ตรงไหนของประวัติศาสตร์แต่รางวัลโนเบลนี้ มอบไปแล้ว จะกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ

ในบทความยกตัวอย่างถึง"อับราฮัม ลินคอร์น" ได้ทำให้แนวคิดนี้เปลี่ยนไป เพราะ "อับราฮัม" ไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวไว้ คือไม่ได้เป็นลูกผู้ดีมีเงิน ไม่ได้เป็นลูกของผู้ปกครองบ้านเมือง แต่เป็นคนจนธรรมดาๆ สมัครเป็นผู้แทนหลายครั้งก็ไม่ได้ แต่พอสมัครเป็นประธานาธิบดีครั้งเดียวได้ ดังสนั่นโลกเลย ทำให้ตำราภาวะผู้นำต้องเปลี่ยนไป ไม่ใช่มาจากสายเลือด แต่มาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ไปสอดคล้องกับปัจจุบันมากที่มี ประธานาธิบดี บารัก โอบามา เป็นคนผิวสี ที่ได้ผ่านการเลือกตั้งเพราะสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในขององค์การ ประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าในสมัยอดีตประธานาธิบดีบุช เกิดผลกระทบต่อประเทศมากมายโดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาที่ถดถอย และความตึงเครียดต่อประเทศต่าง ๆ วิเคราะห์แล้วไปเข้ากับทฤษฎีสภาพแวดล้อมขององค์การ องค์การที่จะได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน จะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป ประกอบด้วย
1.         แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ   ผู้บริหารในปัจจุบันจะต้องตื่นตัวและรู้เท่าทันความเป็นไปของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับโลก เพราะต้องอยู่ท่ามกลางการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า ขณะที่ทรัพยากรต่างๆ ก็มีอยู่อย่างจำกัด
2.         แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม  เป็นสิ่งที่สามารถกำหนดได้จากทัศนคติ ความต้องการ ความคาดหวัง การศึกษา ความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของผู้คนในสังคมนั้นๆ
3.         แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านกฎหมายและการเมือง  หมายถึง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ออกโดยรัฐบาล เพื่อกำหนดและควบคุมการประกอบกิจการต่างๆ  ส่วนปัจจัยด้านการเมืองคือ ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิสัยทัศน์ของผู้นำที่มีต่อการประกอบกิจการของภาคเอกชน
4.         แรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้ไวมาก องค์การใดต้องการอยู่รอดและเพิ่มความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน จะต้องพัฒนาและจัดหาเทคโนโลยีเข้ามาใช้
5.         สภาพแวดล้อมอันเกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติ  เนื่องจากมีการทำลายทรัพยากรและสภาวะแวดล้อมทุกด้าน ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น องค์การธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว เพราะหากดำเนินการต่างๆ โดยขาดวิจารณญาณแล้ว อาจส่งผลเสียหายต่อองค์การทั้งทางกายภาพและด้านภาพลักษณ์ขององค์การ[6]

ตามหลักทฤษฎีดังกล่าวจึงทำให้ โอบามา ได้รับเลือก เขาได้ใช้ภาวะผู้นำที่จะใช้เทคโนโลยีในการช่วยหาเสียงและเมื่อเขาได้รับเลือกเป็นประนาธิบดีแล้วยังต่อยอดนโยบายด้าน ไอที (Information Technology) เข้ามามีบทบาทในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและนำประเทศให้เป็นเลิศทางเทคโนโลยี ไอที และโอบามา ให้นโยบายทุกอย่างที่ตรงกันข้ามกับบุช ทำให้ความเป็นผู้นำนั้นเด่นชัดมากขึ้นถึงแม้ผลงานยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม แต่ก็ทำให้คณะกรรมการโนเบลไพร์ (ปี 2009) จึงให้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ แก่โอบามา

สำหรับในต่างประเทศ บรรดาตระกูลเศรษฐีดังๆ ทั้งหลาย ล้วนมีการปลูกฝังและฝึกสร้างภาวะผู้นำให้กับคนในตระกูลเพื่อสร้างความก้าวหน้าขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือเป็นผู้นำประเทศด้วยกันทั้งสิ้น หนึ่งคือ ต้องให้สัมผัสกับคนจน สองสัมผัสกับหัวหน้ากรรมกรที่มีคนรักนับถือมาก และสามสัมผัสนักการเมือง นี้คือการสร้างประสบการณ์จริงของการที่จะสร้างให้เกิดความเป็นผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ

Exhibition from whatmakesagoodleader.com

เพราะบรรดามหาเศรษฐีทั้งหลายมองภาพของการที่จะสร้างภาวะผู้นำให้เกิดกับลูกของตนเองเพื่อที่จะสามารถนำกลยุทธ์ของผู้นำในลักษณะดับต่าง ๆ เพราะการไปสัมผัสกับบุคคลเหล่านั้นเหมือนได้สัมผัสกับ CEO [(Chief Executive Officer)7   หมายถึง ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่จะต้องมีภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ (Vision) และเป้าหมายรวมของหน่วยงานที่กำหนดไว้ โดยให้คนในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการบริหารงานในแต่ละระดับให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่รับผิดชอบ ของแต่ละกลุ่มอาชีพ
            ภาวะผู้นำที่สำคัญต้องมีคุณลักษณะของผู้นำมี 2 ประการคือ ลักษณะผู้นำประการที่ 1.To Lead is to Service ถือได้ว่าเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างของผู้นำที่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิภาพ ควบคุมโดย Rensis Likert ได้ให้ความหมายของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือผู้นำที่มุ่งความสนใจผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อที่สร้างกลุ่มทำงานที่มีประสิทธิภาพให้บรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติที่สูงขึ้น8 การนึกถึงจิตใจผู้อื่น (Consideration) คือพฤติกรรมที่อธิบายขอบเขตที่ว่าผู้นำไวต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และเคารพในความคิดและความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย(Mutual trust)
ประการที่ 2. To lead is to follow ความเป็นผู้นำต้องเป็นคนเสียสละและไม่คิดถึงรางวัลในการทำงานใด เข้ากับการบริหารแนวพุทธ ซึ่งในบทความได้ยกภาษิตจีนมาเป็นตัวอย่าง แต่กลับไปบอกว่าคนไทยเวลาทำสำเร็จแล้วจะอยู่รอเพื่อรับการชื่นชมสรรเสริญเยินยอ แสดงว่าไม่ได้ถูกฝึกภาวะผู้นำ คือทุกคนที่มีความเป็นผู้นำจริงของไทยนั้น ตัวเองต้องมาที่หลัง เช่นกินที่หลัง นอนที่หลัง มีจิตเมตตา มีความกรุณา เป็นต้น
            Leadership นั้นจะต้องมึคุณสมบัติคุณลักษณะผู้นำที่ดี
1.       มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีสติ ปัญญาดีก็เกิด
2.       เป็นผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดีคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่นคงมีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความสนใจและใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
3.       เป็นผู้ที่มีแรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานนั้นให้เกิดความสำเร็จ
4.       เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีผู้นำจะต้องตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดีในการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย9

บทสรุป
                ภาวะผู้นำจะต้องรับรู้สาระสำคัญของการบริหารยุคใหม่ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ หมายถึง การบริหารองค์การภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมใหม่ จะต้องรู้จักออกแบบองค์การเพื่อการรองรับผลกระทบจากภายนอก (Designing Organizations for the International Environment)10 ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ คืออินเตอร์เน็ต (Internet) โลกาภิวัฒน์ (Globalization) , การบริหารความรู้ (Knowledge management) และความร่วมมือกันข้ามพรมแดนภายในและระหว่างองค์กร(Collaboration across “boundaries”)รวมทั้งที่ ศ.กฤษ เพิ่มทันจิตต์ ได้กล่าวไว้ว่า ศาสตราจารย์ Thomas S. Bateman และ ศาสตราจารย์  Scott A. Snell ได้เขียนหนังสือเรื่อง Management : The New Competitive Landscape (การจัดการในภูมิทัศน์การแข่งขันใหม่) ภาวะผู้นำขององค์การ เป็นบทบาทที่สำคัญที่ผู้บริหารต้องทำหน้าที่ให้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องปรับตัว และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้สมาชิกในองค์การพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง และสนองตอบต่อนโยบายกลยุทธ์ขององค์การตลอดจนต้องทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของสภาพแวดล้อมที่มากระทบต่อองค์การ11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น