วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผู้นำแห่งความสำเร็จ

. ผู้นำแห่งความสำเร็จ
1. ตัดสินใจเด็ดขาด รู้จักตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ตัดสินใจเร็ว ถูกต้องและมีเหตุผล
2. มีเป้าหมายชัดเจน ต้องมีจุดยืน มีอุดมการณ์หรือจุดหมายที่ชัดเจน ทำให้สามารถมุ่งหน้าไปยังจุดๆ นั้นได้ง่ายและเร็วขึ้น
3. รู้จักใช้คน Put he right man in the right job. ต้องรู้จักลูกน้องของตนว่าใครเหมาะที่จะทำอะไร งานไหนควรให้ใครรับผิดชอบ คนไหนเก่งอะไร มีข้อบกพร่องด้านใดอยู่บ้าง ก็พยายามแก้ไขให้เขาสมบูรณ์แบบขึ้น ใครขาดใครเกินส่วนไหน ก็ปรับแต่งให้ลงตัว
4. ซื่อสัตย์ มีความซื่อสัตย์ต่อองค์กร บริหารค่าใช้จ่ายอย่างเป็นธรรมถูกต้องไม่เอารัดเอาเปรียบ
5. สนับสนุนลูกน้อง ต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องพิสูจน์ความสามารถ ไม่แย่งผลงานและโอกาสในการสร้างผลงานของลูกน้องมาเป็นผลงานของตัวเอง ผลักดัน สนับสนุน และสร้างเสริมความสามารถให้ลูกน้องเก่งขึ้น
6. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดีทั้งในและนอกองค์กร รู้จักยืดหยุ่น มีอารมณ์ขัน มีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลางานบ้าง เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
7. รู้จักรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ไม่ปิดกั้นความคิดของลูกน้อง
8. บุคลิกภาพต้องดีเยี่ยม ควรเป็นผู้มีบุคลิกดี แต่งกายเหมาะสมกับรูปร่างหรือฐานะทางสังคม ต้องดูสะอาดสะอ้าน ดูสุภาพ มีบุคลิกดึงดูดใจ น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
9. มีศิลปะในการเจรจา ต้องมีน้ำเสียงนุ่มนวล พูดอย่างไตร่ตรอง รู้คิด รู้สถานการณ์ รู้กาลเทศะ มีการเตรียมการมาก่อน พูดอย่างสั้นไม่สับสน กระชับ ตรงประเด็น จริงใจ เป็นธรรมชาติ ใช้เสียงที่ดังพอประมาณ มีเสียงหนักเบาเพื่อเน้นความสำคัญของสิ่งที่พูด และไม่ทำให้รู้สึกเบื่อ
10. มีความเป็นผู้นำ ต้องมีความคิดที่เฉียบคม การลงมือที่เฉียบขาด และมีการประสานงานที่เฉียบแหลม ปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เข้าใจองค์กรและเห็นใจผู้ร่วมงาน ประสานประโยชน์ขององค์กรและผู้ร่วมงานได้ดี ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากผู้ร่วมงานในทุกระดับ

2. ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี

ประเภทของผู้นำ
- ผู้นำแบบเผด็จการ เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเอง ถือเรื่องระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
- ผู้นำแบบประชาธิปไตย ให้สิทธิ์ในการออกความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วย
- ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อยๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

การใช้อำนาจของผู้บริหาร แบ่งได้ดังนี้

1. การใช้อำนาจเด็ดขาด อาจจะเป็นในวงการทหารหรือตำรวจ จะต้องมีความเด็ดขาดในการสั่งการ
2. การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ ผู้นำโดยทั่วไปเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทนรวมไปถึงประสบการณ์ในการบังคับบัญชาคน หากการทำงานโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป
3. การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ ผู้บริหารเปิดใจกว้างย่อมได้รับการยอมรับของผู้ร่วมงานด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสอนงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะการใช้อำนาจด้วย วิธีการปรึกษาหารือ
4. การใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วม ถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเนื่องจากผู้บริหารเปิดใจกว้าง มีประสิทธิภาพสูงสุดจะขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน การใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม รวมถึงลักษณะของการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ

หน้าที่ของผู้นำ แบ่งออกได้ดังนี้

1. ลักษณะของการควบคุม อาจ จะใช้การควบคุมด้วยระบบเอกสาร ระบบของงานที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน หรือเป็นการควบคุมในระบบด้วยตัวของมันเองอย่างอัตโนมัติ
2. ลักษณะของการตรวจตรา เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะต้องติดตามความเคลื่อนไหว หรือผลการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขในเหตุการณ์นั้นๆ ได้ทัน
3. ลักษณะของการประสานงาน
4. ลักษณะของการวินิจฉัยสั่งการ ผู้นำที่ดีจะต้องวินิจฉัยสั่งการมีความชัดเจน รู้จักการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5. ลักษณะของการโน้มน้าวให้ทำงาน ชักชวนให้สมาชิกมีความสนใจในการปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและตั้งใจทำงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด
6. ลักษณะของการประเมินผลงาน พิจารณาความดีความชอบตลอดระยะเวลาการทำงานอย่างถูกต้องและเป็นธรรม เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงาน ควรประเมินเป็นระยะ ๆ และสามารถแจ้งผลให้ผู้ที่ถูกประเมินได้ทราบเพื่อจะได้แก้ไขในโอกาสต่อไป

คุณสมบัติที่ดีของผู้นำ

1. มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้
2. เป็นผู้มีสังคมดี มีอารมณ์มั่นคง มีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเอง
3. เป็นผู้ที่มีแรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่จะโน้มน้าวให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานให้ เกิดความสำเร็จ
4. เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเองและลูกน้อง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดี

ลักษณะของผู้นำที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

1. ต้องเป็นนักเผด็จการ สามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด
2. ต้องเป็นนักพัฒนา สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา
3. ต้องเป็นนักบริหาร ใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
4. ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด พูดชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตาม

3. ความสำคัญของภาวะผู้นำต่อความสำเร็จขององค์กร

ความสำคัญของภาวะผู้นำต่อความสำเร็จขององค์กร
ความสำคัญของภาวะผู้นำต่อความสำเร็จขององค์กร และการสร้างองค์กรที่มีความสำเร็จ แบบยั่งยืน (Sustained Superior Performance) และเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่

1. บุคลากรทุกระดับในองค์กรมีศักยภาพ
2. ผู้นำองค์กรมีศักยภาพ
3. องค์กรมีศักยภาพในการปฏิบัติงานให้เกิดผล

วัฒนธรรมองค์กร มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ด้าน คือ คุณลักษณะ (Characters) และความรู้ความสามารถ (Competencies) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมองค์กร ที่จะทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งและประสบความความสำเร็จ เพราะฉะนั้น หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้นำองค์กรก็คือ ต้องพัฒนาคุณลักษณะและความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องเป็นผู้นำที่มีวุฒิภาวะที่ดี ซึ่งวุฒิภาวะของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1. Dependence คือ ต้องพึ่งพาคนอื่น ซึ่งจะไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้
2. Independence คือ มีความมั่นใจในตนเอง มีจุดยืน มั่นคง
3. Interdependence คือ สามารถพึ่งพาตนเองและนำคนอื่นได้ เป็นวุฒิภาวะที่ควรมีในตัวของผู้นำที่ดี

การนำพาตนเองไปสู่การเป็นผู้นำที่มีวุฒิภาวะในระดับ Interdependence ได้นั้น จะต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้มี 7 อุปนิสัย เพื่อการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือ

1. Be Proactive : รับผิดชอบในสิ่งที่เลือกและผลลัพธ์ของสิ่งที่ทำ โดยไม่ปัดความรับผิดชอบ
2. Begin with the End in Mind : มีวิสัยทัศน์ รู้ว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร มีเป้าหมายที่ชัดเจน
3. Put First Things First :ทำแต่สิ่งที่สำคัญและใช้เวลาให้คุ้มค่าเต็มที่ มีจุดมุ่งหมาย
4. Think Win-Win : ใจกว้าง ไม่คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวยินดีต่อ ความสำเร็จของผู้อื่น
5. Seek First to Understand, Then to be Understood : เข้าใจซึ่งกันและกัน รับฟังความต้องการและข้อแนะนำของผู้อื่น
6. Synergize : เกิดพลังร่วม เป็น team work ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
7. Sharpen the Saw : พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งกาย วาจา และใจ

บทบาทของผู้นำที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

1. ผู้นำต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเกิดความศรัทธา และต้องการทำตามผู้นำ
2. ผู้นำต้องให้วิสัยทัศน์และทิศทางที่ชัดเจนขององค์กร และสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจ
3. ผู้นำต้องทำให้สิ่งต่างๆในองค์กรมีความสอดคล้อง มีระบบสนับสนุนที่ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ ภายในองค์กรสามารถเกิดขึ้นได้
4. ผู้นำต้องรู้จัก empower บุคลากรในองค์กร เนื่องจากความสำเร็จขององค์กรนั้นจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกคน

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์(Strategic Leadership)”

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์(Strategic Leadership)” 
 บทวิเคราะห์ “ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์(Strategic Leadership)”
ในบทความของ อาจารย์.สิทธิชัย ฝรั่งทอง ได้กล่าวถึงภาวะผู้นำโดยรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ว่าผู้นำนั้นจะต้องมีความรู้บางอย่างในทุกอย่าง หรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง "Know something in everything" หรือ "Know everything in something" สามารถนำไปใช้ได้ในทุกวิชาชีพ
แต่คำว่าภาวะผู้นำนั้นคือการเป็นผู้นำซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่น และการสนับสนุนให้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร (DuBrin, 1998:2) หรือ ความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่างผู้นำและผู้ตาม ที่มีความตั้งใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงนั้นสะท้อนจุดหมายที่มีร่วมกันระหว่างผู้นำและผู้ตาม (Draft, 2005:5) [1]
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าผู้นำนั้นเน้นที่ความสามารถ (Leader Competencies) และความสามารถนั้นต้องพัฒนาโดนเน้นพัฒนาที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.       การพัฒนาตน (Self-Development)
2.       การพัฒนาบุคคลอื่น หรือพนักงานในองค์กรของตน (Others Development)
อาจารย์.สิทธิชัย ฝรั่งทอง ยังบอกต่ออีกว่า “เรียนเรื่องภาวะผู้นำจากตำราเพียงอย่างเดียวไม่ได้จะสอนจากประสบการณ์ เช่น ถ้าบริษัทไหนล้มเหลว ก็จะนำความล้มเหลวนั้นมาพูดคุยกันว่าทำไมถึงล้มเหลว แล้วถ้าคุณเป็นผู้บริหารจะทำอย่างไร และถ้าเกิดความสำเร็จก็จะประเมินกันว่าสำเร็จเพราะอะไร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้ความเป็นผู้นำแหลมคมขึ้น
ดังนั้นผู้นำต้องมีความสามารถด้านการมองโลกแบบโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ศึกษาความสำเร็จและความล้มเหลว ของธุรกิจที่มีการหยุดนิ่งหรือกำลังเดินไปด้วยดีนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Change) (อัมพร แสงมณี, 2552.) และเพื่อที่จะต้องทำความเข้าใจกับกรณีศึกษา ซึ่งสามารถนำมาเป็นเงื่อนไขของปรับองค์การให้แข่งขันต่อไปได้ โดยผู้นำจะต้องปรับองค์กรเป็น”องค์การแบบโลกาภิวัฒน์ (Global Organizations) ดังกรณีตัวอย่างที่แสดงไว้ในกรอบ[2]


Alchemy Language Exchange is an Internet-enabled, high-performance Translation Memory (TM) database server. Powered by Microsoft SQL Server technology, it is a solution for successful global organizations that require reliable, high performance, flexible, secure and shared access to their linguistic assets.

บทความยังแสดงให้เห็นว่า “บางตำราบอกว่าไม่มีใครสอนใครได้ในเรื่องภาวะผู้นำ แต่สามารถช่วยเขาให้เรียนรู้ได้(
No one can teach anybody in Leadership but we can help them to learn) ซึ่งภาวะผู้นำในด้านใดด้านหนึ่งอาจจะทำได้ดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำได้ดีหมดทุกเรื่อง
คงอาจจะต้องกล่าวว่าเป็นบางตำราจริง ๆ เพราะอันที่จริงแล้วการเกิดผู้นำที่มีภาวะนั้น จะต้องมีพื้นฐานที่ดี ตัวอย่างเช่น กีฬากอล์ฟ คุณจะต้องมีพื้นฐานของทฤษฎี ของแต่ละท่าและขั้นตอน ที่คุณจะเล่นมัน ไม่ว่าจะเป็นการจับไม้ (Grip) ยืนที่ต้องถูกท่า (Address) จะต้องเรียนรู้ คุณถึงจะมีพื้นฐานที่ดี (Basic) ดังนั้นภาวะผู้นำในองค์กรธุรกิจจะต้องพึ่งองค์การที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge-based Organization) จะเกิดการใช้ผู้นำร่วมกัน (Shared Leadership) ดังกรณีตัวอย่างที่แสดงไว้ในกรอบของ how does Shared Leadership work[3]
 


 How does Shared Leadership work?
                        Our SL model consists of the Coordinating Council, three committees, working groups and the board. The Coordinating Council holds responsibility for keeping the organization on track with our mission, vision and strategy, and organizational legal, financial and community accountabilities. The Council is comprised of three staff members, each of whom is engaged in and represents a key area of the organization's work: Research, Capacity-Building, and Support Services Committees. Council tenures rotate on a staggered cycle among each committee's members giving everyone the opportunity to serve while maintaining structural continuity.
                        The three committees coordinate programmatic and support services work. Every staff member sits on one of the committees, engages in the work and ensures that program and support services function well. Committees are responsible for ensuring staff members are supported in their work and that they are meeting their responsibilities.
                        Working groups handle the day-to-day tasks of the organization: supporting community-based research, transferring research capacity to communities, providing research support to social justice efforts, fundraising, bookkeeping, financial management, governance, operations, communications, human rights/resources. Staff collaboration in operating the organization helps ensure that organizational knowledge is shared, not lost when staff members move out of the organization.

ภาวะผู้นำนั้นก็คือความเป็นผู้นำนั้นเอง ซึ่งมีอยู่หลากหลายแบบ ในบทความได้ยกตัวอย่าง ภาวะผู้นำในยามวิกฤต ภาวะผู้นำในภาวะปกติ ภาวะผู้นำทางการเมือง ภาวะผู้นำในเศรษฐกิจ ภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ดังนั้น ตามหลักการจริง ๆ แล้วการที่จะเกิดภาวะผู้นำนั้นมันขึ้อยู่กับสถานการณ์ในยามวิกฤต และมีบุคคลใดหรือบุคคลหนึ่งมาเป็นผู้เสนอแนวคิด ออกคำสั่งตามกลยุทธเขาได้เสนอแนะมาและทุกคนทำตาม และพาให้รอดปลอดภัยมาได้แก้ปัญหาได้ เหมือนเราดูภาพยนต์เรื่องตึกนรกที่มีผู้นำออกมาจากตึกได้ ตัวอย่างปัจจุบันภาวะผู้นำของนักการเมือง ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะต้องแสดงบทบาทและหน้าที่ เพื่อจะต้องแก้ปัญหาด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ สอนกันไม่ได้ และต้องมีการหล่อหลอมสะสมประสบการณ์ ต้องผ่านกระบวนการของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึ่งจะเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ การเกิดภาวะผู้นำนั้นจะต้องบูรณาการทั้ง 3 ทักษะของ Robert Lukasz[4] ทักษะด้านเทคนิคของการปฏิบัติงาน (Technical Skill) ภาวะผู้นำในยามวิกฤตที่มีอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย ผู้นำที่เข้าทำการช่วยเหลือจะต้องมีความรู้และความสามารถด้านเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้เครื่องมือ เช่น อุบัติภัยจากแผ่นดินไหว ตึกถล่มทับคน ผู้นำจะต้องมองออกว่าจะช่วยได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนทักษะในเรื่องคน (Human Skill) จะต้องเข้าใจคนแต่ละกลุ่มแต่ละภาวะที่เขาจะต้องชักจูงใจอย่างไรที่จะให้คนเหล่านั้นมาช่วยให้งานสำเร็จได้ และทักษะด้านความคิด(Conceptual Skill) ภาวะผู้นำที่เกิดได้นั้นเขาต้องมีความรู้ทางทฤษฎีหลักการ และมีความคิดเชิงระบบที่เป็นบวก (Positive Thinking) จึงจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดได้
นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความหมายของผู้นำไว้ว่า "ผู้นำคือ คนที่คิด คนที่พูด คนที่ทำอะไรแล้วคนอื่นเชื่อถือ อยากทำตาม อยากช่วยเหลือ อยากสนับสนุน" คำกล่าวของนายอานันท์ ปันยารชุน ถ้าพิเคราะห์ดี ๆ แล้ว สอดคล้องกับ สามทักษะของ Robert L.Katz จะขอยกตัวอย่างภาวะผู้นำของประธานาธิบดี บารัก โอบามา ที่แสดงออกด้านผู้นำ คนที่คิดดี คนที่พูด คนที่ทำอะไรแล้วคนอื่นเชื่อถือ อยากทำตาม อยากช่วยเหลือ อยากสนับสนุน จนได้รางวัลโนเบล[5]
ประธานาธิบดี บารัก โอบามา พอได้รางวัลโนเบล ก็รีบประกาศว่า แปลกใจและรู้สึกเป็นเกียรติ ถ่อมตนด้วยว่า คงจะไม่สามารถเปรียบกับผู้ได้รับรางวัลโนเบลคนอื่น
เสียงวิพากษ์วิจารณ์พรรคอเมริกาทั่วโลกว่า เอ๊ะ ทำไมจึงให้โอบามาได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ทั้งๆ ที่เพิ่งจะรับตำแหน่งยังไม่เกิน 1 ปี ผลงานก็ยังต้องพิสูจน์กัน แต่คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบล ประกาศว่า แนวทาง นโยบาย ที่บารัก โอบามา นำมาใช้ ทำให้โลกเกิดสันติขึ้นมาทันที อย่างน้อยที่สุด บรรยากาศการเจรจาต่อรองก็ดีกว่า สมัยอดีตประธานาธิบดีบุชแน่นอนครับ เขาไม่ได้เอ่ยชื่อบุช แต่จากการวิเคราะห์ชัดเจนว่า คณะกรรมโนเบล มองบุชเป็นศัตรูต่อสันติภาพ ฉะนั้น เป้าหมายของคณะกรรมการชุดนี้จึงไม่ใช่ให้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ แก่โอบามา เพราะโอบามาได้สร้างผลงานแล้ว แต่ให้กับ ความพยายาม แนวทาง นโยบาย การยื่นมือให้แก่ประเทศที่เคยเป็นศัตรูกับสหรัฐ ความพยายามที่จะลดอาวุธนิวเคลียร์ในโลก และการที่ทำให้ความตึงเครียดในสมัยอดีตประธานาธิบดีบุชนั้น ผ่อนคลายทันที โอบามา ก็รู้ครับ บอกว่า รางวัลโนเบล ไพรซ์นี้ ให้เขาเพื่อทำงาน ไม่ใช่เป็นการตอบแทนผลงาน เพราะโอบามายอมรับว่า ภารกิจข้างหน้า ยังมีอีกมากมายนักเสียงวิจารณ์ดังขรมไปทั่วโลก ฝ่ายที่ไม่ชอบโอบามานี่บอกเลยว่า นี่เป็นตลกร้าย ของคณะกรรมการโนเบล แม้กระทั่งคนอเมริกันเองหลายคน ก็บอกว่า ให้ รางวัลนี้แก่โอบามา เพราะอะไรหรือ ? ผลงานก็ยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่ว่า ก็ไม่น้อยที่มองว่า โอบามาควรจะได้รับรางวัลนี้ เพื่อเป็นการมอบหมายภารกิจให้โอบามาทำให้สำเร็จ นั่นคือ ทำให้โลกนี้มีสันติภาพ ให้เจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์ และให้คนที่ไร้โอกาสทั่วโลก คนผิวดำ ชนกลุ่มน้อย ผู้ยากจน ที่สมัยหนึ่งไม่อยู่ในข่ายมีอำนาจต่อรอง เมื่อเห็นภาพลักษณ์ของโอบามา แนวทาง ทิศทาง แล้ว น่าจะมีความหวังมากขึ้น แล้วแต่คุณจะมองว่า โอบามายืนอยู่ตรงไหนของประวัติศาสตร์แต่รางวัลโนเบลนี้ มอบไปแล้ว จะกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ

ในบทความยกตัวอย่างถึง"อับราฮัม ลินคอร์น" ได้ทำให้แนวคิดนี้เปลี่ยนไป เพราะ "อับราฮัม" ไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวไว้ คือไม่ได้เป็นลูกผู้ดีมีเงิน ไม่ได้เป็นลูกของผู้ปกครองบ้านเมือง แต่เป็นคนจนธรรมดาๆ สมัครเป็นผู้แทนหลายครั้งก็ไม่ได้ แต่พอสมัครเป็นประธานาธิบดีครั้งเดียวได้ ดังสนั่นโลกเลย ทำให้ตำราภาวะผู้นำต้องเปลี่ยนไป ไม่ใช่มาจากสายเลือด แต่มาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ไปสอดคล้องกับปัจจุบันมากที่มี ประธานาธิบดี บารัก โอบามา เป็นคนผิวสี ที่ได้ผ่านการเลือกตั้งเพราะสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในขององค์การ ประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าในสมัยอดีตประธานาธิบดีบุช เกิดผลกระทบต่อประเทศมากมายโดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาที่ถดถอย และความตึงเครียดต่อประเทศต่าง ๆ วิเคราะห์แล้วไปเข้ากับทฤษฎีสภาพแวดล้อมขององค์การ องค์การที่จะได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน จะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป ประกอบด้วย
1.         แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ   ผู้บริหารในปัจจุบันจะต้องตื่นตัวและรู้เท่าทันความเป็นไปของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับโลก เพราะต้องอยู่ท่ามกลางการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า ขณะที่ทรัพยากรต่างๆ ก็มีอยู่อย่างจำกัด
2.         แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม  เป็นสิ่งที่สามารถกำหนดได้จากทัศนคติ ความต้องการ ความคาดหวัง การศึกษา ความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของผู้คนในสังคมนั้นๆ
3.         แรงผลักดันจากปัจจัยทางด้านกฎหมายและการเมือง  หมายถึง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ออกโดยรัฐบาล เพื่อกำหนดและควบคุมการประกอบกิจการต่างๆ  ส่วนปัจจัยด้านการเมืองคือ ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิสัยทัศน์ของผู้นำที่มีต่อการประกอบกิจการของภาคเอกชน
4.         แรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้ไวมาก องค์การใดต้องการอยู่รอดและเพิ่มความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน จะต้องพัฒนาและจัดหาเทคโนโลยีเข้ามาใช้
5.         สภาพแวดล้อมอันเกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติ  เนื่องจากมีการทำลายทรัพยากรและสภาวะแวดล้อมทุกด้าน ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น องค์การธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว เพราะหากดำเนินการต่างๆ โดยขาดวิจารณญาณแล้ว อาจส่งผลเสียหายต่อองค์การทั้งทางกายภาพและด้านภาพลักษณ์ขององค์การ[6]

ตามหลักทฤษฎีดังกล่าวจึงทำให้ โอบามา ได้รับเลือก เขาได้ใช้ภาวะผู้นำที่จะใช้เทคโนโลยีในการช่วยหาเสียงและเมื่อเขาได้รับเลือกเป็นประนาธิบดีแล้วยังต่อยอดนโยบายด้าน ไอที (Information Technology) เข้ามามีบทบาทในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและนำประเทศให้เป็นเลิศทางเทคโนโลยี ไอที และโอบามา ให้นโยบายทุกอย่างที่ตรงกันข้ามกับบุช ทำให้ความเป็นผู้นำนั้นเด่นชัดมากขึ้นถึงแม้ผลงานยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม แต่ก็ทำให้คณะกรรมการโนเบลไพร์ (ปี 2009) จึงให้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ แก่โอบามา

สำหรับในต่างประเทศ บรรดาตระกูลเศรษฐีดังๆ ทั้งหลาย ล้วนมีการปลูกฝังและฝึกสร้างภาวะผู้นำให้กับคนในตระกูลเพื่อสร้างความก้าวหน้าขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือเป็นผู้นำประเทศด้วยกันทั้งสิ้น หนึ่งคือ ต้องให้สัมผัสกับคนจน สองสัมผัสกับหัวหน้ากรรมกรที่มีคนรักนับถือมาก และสามสัมผัสนักการเมือง นี้คือการสร้างประสบการณ์จริงของการที่จะสร้างให้เกิดความเป็นผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ

Exhibition from whatmakesagoodleader.com

เพราะบรรดามหาเศรษฐีทั้งหลายมองภาพของการที่จะสร้างภาวะผู้นำให้เกิดกับลูกของตนเองเพื่อที่จะสามารถนำกลยุทธ์ของผู้นำในลักษณะดับต่าง ๆ เพราะการไปสัมผัสกับบุคคลเหล่านั้นเหมือนได้สัมผัสกับ CEO [(Chief Executive Officer)7   หมายถึง ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่จะต้องมีภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ (Vision) และเป้าหมายรวมของหน่วยงานที่กำหนดไว้ โดยให้คนในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการบริหารงานในแต่ละระดับให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่รับผิดชอบ ของแต่ละกลุ่มอาชีพ
            ภาวะผู้นำที่สำคัญต้องมีคุณลักษณะของผู้นำมี 2 ประการคือ ลักษณะผู้นำประการที่ 1.To Lead is to Service ถือได้ว่าเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างของผู้นำที่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิภาพ ควบคุมโดย Rensis Likert ได้ให้ความหมายของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือผู้นำที่มุ่งความสนใจผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อที่สร้างกลุ่มทำงานที่มีประสิทธิภาพให้บรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติที่สูงขึ้น8 การนึกถึงจิตใจผู้อื่น (Consideration) คือพฤติกรรมที่อธิบายขอบเขตที่ว่าผู้นำไวต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และเคารพในความคิดและความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย(Mutual trust)
ประการที่ 2. To lead is to follow ความเป็นผู้นำต้องเป็นคนเสียสละและไม่คิดถึงรางวัลในการทำงานใด เข้ากับการบริหารแนวพุทธ ซึ่งในบทความได้ยกภาษิตจีนมาเป็นตัวอย่าง แต่กลับไปบอกว่าคนไทยเวลาทำสำเร็จแล้วจะอยู่รอเพื่อรับการชื่นชมสรรเสริญเยินยอ แสดงว่าไม่ได้ถูกฝึกภาวะผู้นำ คือทุกคนที่มีความเป็นผู้นำจริงของไทยนั้น ตัวเองต้องมาที่หลัง เช่นกินที่หลัง นอนที่หลัง มีจิตเมตตา มีความกรุณา เป็นต้น
            Leadership นั้นจะต้องมึคุณสมบัติคุณลักษณะผู้นำที่ดี
1.       มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีสติ ปัญญาดีก็เกิด
2.       เป็นผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดีคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่นคงมีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความสนใจและใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
3.       เป็นผู้ที่มีแรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานนั้นให้เกิดความสำเร็จ
4.       เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีผู้นำจะต้องตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดีในการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย9

บทสรุป
                ภาวะผู้นำจะต้องรับรู้สาระสำคัญของการบริหารยุคใหม่ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ หมายถึง การบริหารองค์การภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมใหม่ จะต้องรู้จักออกแบบองค์การเพื่อการรองรับผลกระทบจากภายนอก (Designing Organizations for the International Environment)10 ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ คืออินเตอร์เน็ต (Internet) โลกาภิวัฒน์ (Globalization) , การบริหารความรู้ (Knowledge management) และความร่วมมือกันข้ามพรมแดนภายในและระหว่างองค์กร(Collaboration across “boundaries”)รวมทั้งที่ ศ.กฤษ เพิ่มทันจิตต์ ได้กล่าวไว้ว่า ศาสตราจารย์ Thomas S. Bateman และ ศาสตราจารย์  Scott A. Snell ได้เขียนหนังสือเรื่อง Management : The New Competitive Landscape (การจัดการในภูมิทัศน์การแข่งขันใหม่) ภาวะผู้นำขององค์การ เป็นบทบาทที่สำคัญที่ผู้บริหารต้องทำหน้าที่ให้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องปรับตัว และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้สมาชิกในองค์การพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง และสนองตอบต่อนโยบายกลยุทธ์ขององค์การตลอดจนต้องทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของสภาพแวดล้อมที่มากระทบต่อองค์การ11

การบริหารจัดการ

การบริหารจัดการ"
ปีเตอร์ เอฟ.ดรัคเกอร์ ปรมาจารย์ด้านบริหารจัดการของโลก กล่าวว่า โลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงความมุ่งหวังของปีเตอร์ เอฟ.ดรัคเกอร์ ก็คือ ต้องการให้เราใคร่ครวญว่าความรู้ความสามารถที่ทุกคนมีอยู่ จะสามารถจัดการกับปัญหาที่ท้าทายที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ที่มีชื่อว่า Management Challenge for the 21st Century/ การบริหารจัดการในศตวรรษ 21 เพื่อสร้างเป็นโอกาสให้กับองค์กรและตัวเราเองได้อย่างไร โดยเน้นหนักในเรื่องของการปฏิบัติโดยแท้เนื้อหาของหนังสือมี 6 หัวข้อหลัก คือ
1.แบบจำลองการบริหารแนวใหม่ 2.กลยุทธ์ : สิ่งใหม่ที่แน่นอนกว่า 3.ผู้นำการเปลี่ยนแปลง4.การเปลี่ยนแปลงด้านข้อมูลข่าวสาร 5.ผลิตภาพของแรงงานที่ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงาน และ 6.การบริหารตนเองและต่อไปนี้ขอนำเสนอข้อความบางส่วนของหนังสือเล่มนี้ใคร….? คือ ผู้นำในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ในความหมายของปีเตอร์ เอฟ.ดรัคเกอร์ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้เพราะเราสามารถทำได้เพียงก้าวไปข้างหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันไม่ค่อยมีใครพูดถึง การเอาชนะกระแสต่อต้านการเปลี่ยนแปลงซึ่งหัวข้อนี้ในอดีตเมื่อประมาณ 10-15 ปีมาแล้วเป็นที่นิยมกล่าวขานกันมาก ในตำรา และสัมมนาทางการบริหารทั่วไป ปัจจุบันทุกคนยอมรับกันดีว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีความหมายอีกนัยหนึ่งว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเปรียบเสมือน ความตายและภาษีอากร เราอยากจะเลื่อนมันออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใดที่เป็นเหตุการณ์น่าประทับใจแก่บุคคลทั่วไป แต่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น ในยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงนั้นกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมไปเสียแล้ว แน่นอนมันย่อมสร้างความเจ็บปวดและความเสี่ยง และที่สำคัญ คือ การทำงานภายใต้สภาวะของการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องการการทุ่มเทอย่างมากทั้งกำลังกายและกำลังใจ แต่ถ้าองค์กรไม่ได้มองเห็นว่า คนมีภาระหน้าที่ที่จะต้องนำการเปลี่ยนแปลงแล้วล่ะก็ เชื่อว่า องค์กรนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ฯลฯ จะไม่สามารถอยู่รอดได้
ดังนั้น ผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 แล้ว สิ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารสามารถนำพาองค์กรของตนให้อยู่ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นโอกาส ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทราบวิธีการค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง และทราบวิธีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผลทั้งจากภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการ 1.นโยบายการสร้างอนาคต 2.วิธีการอย่างเป็นระบบในการมองหา และคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลง3.วิธีที่ถูกต้องในการสร้างความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์กร 4.นโยบายในการสร้างสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับความต่อเนื่อง
และปัจจัยทั้งสี่ประการข้างต้นนี่เองที่เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การสร้างการเปลี่ยนแปลง นโยบายสุดท้ายสำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ การวางนโยบายเกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ ขององค์กรอย่างมีระบบ หรือเป็นนโยบายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง นโยบายนี้เป็นสิ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจขององค์กร และประชาชนทั่วไปในปัจจุบัน แต่ไม่ใช่นโยบายที่มีความสำคัญที่สุดต่อองค์กร นโยบายอย่างการยกเลิกกิจกรรม และการปรับปรุงองค์กรอย่างมีระบบ รวมทั้งการฉกฉวยโอกาสเพื่อสร้างความสำเร็จกลับเป็นนโยบายที่สามารถสร้างผลิตภาพได้ดีสำหรับองค์กรธุรกิจหลายแห่งทีเดียวและถ้าหากปราศจากนโยบายเหล่านี้ องค์กรก็ไม่สามารถตั้งความคาดหวังว่าจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ จากการสร้างสรรค์สิ่งใหม่แก่อุตสาหกรรม แต่การจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จได้นั้น องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องมีนโยบายที่เรียกว่า การสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างเป็นระบบ และเหตุผลหลักในเรื่องนี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็น เพราะผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ ผู้ที่ต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่เข้าสู่สังคมและอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่จริง แต่เหตุผลหลักกลับเป็นเพราะนโยบายการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างเป็นระบบนี้ สามารถสร้างจิตสำนึกให้องค์กรในฐานะที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังทำให้ทั่วทั้งองค์กรมองเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นคือโอกาสที่เกิดขึ้นมาใหม่
3 กับดักที่ผู้นำมักพลาด มีกับดัก 3 อย่างที่ผู้บริหารนำการเปลี่ยนแปลงมักจะพลั้งพลาด และควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ 1.กับดักอันดับแรก คือ โอกาสในการสร้างนวัตกรรมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ที่เกิดขึ้น นวัตกรรมที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จ คือ นวัตกรรมที่ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางประชากรศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ วิธีการที่องค์กรธุรกิจและลูกค้าของตนให้คำนิยามกับคำว่า ผลการดำเนินงาน ความสามารถในเชิงการแข่งขันในตลาดระดับโลก หรือสภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เห็นเกิดขึ้นจริง แต่โอกาสทั้งหลายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ก็มักจะเรียกร้องความสนใจได้ดี เนื่องจากดูแล้วค่อนข้างสร้างสรรค์ ถึงแม้ว่าโอกาสเหล่านั้นไม่ได้จบลงด้วยความล้มเหลวเหมือนกับกรณีทั่วๆ ไป แต่บริษัทก็ต้องทุ่มความพยายามไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเวลาหรือเงินทองไปเป็นจำนวนมาก
2.กับดักที่สอง คือ ความสับสนระหว่าง สิ่งแปลกใหม่ กับ นวัตกรรม สิ่งใดจะเป็นนวัตกรรมได้สิ่งนั้นจะต้องสามารถสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มได้ สิ่งแปลกใหม่นั้นสามารถได้เพียงอารมณ์ตื่นเต้นแปลกใหม่ แต่ผู้บริหารในปัจจุบันก็มักจะผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากการตัดสินใจสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเหตุผลเดียว คือเบื่อที่จะทำในสิ่งเดิมๆ หรือผลิตสินค้าเดิมๆ วันแล้ววันเล่า บททดสอบสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรม (เหมือนกับที่เราทดสอบเรื่อง คุณภาพ กัน) นั้นไม่ใช่คำถามที่ว่า บริษัทของเราชอบสินค้าใหม่นี้หรือไม่?
3.กับดักที่สาม คือ ความสับสนระหว่างการเคลื่อนไหวกับกิจกรรม โดยทั่วไปแล้วเมื่อสินค้า การบริการ หรือกระบวนการใดๆ ก็ตามไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ตามที่ต้องการธุรกิจย่อมยกเลิกสิ่งเหล่านั้นหรือปรับเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด นั่นคือ แสดงว่าผู้บริหารได้จัดระบบใหม่ให้องค์กร ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็นในองค์กร แต่การจัดระบบใหม่ให้องค์กรมาทีหลังกิจกรรม นั่นคือ เกิดขึ้นหลังจากที่องค์กรทราบแล้วว่า จะจัดระบบใหม่ให้กับสิ่งใด และด้วยวิธีใดและด้วยวิธีการอย่างไร ดังนั้น การจัดระบบใหม่ให้องค์กรโดยตัวของมันเองแล้วเป็นเพียงการเคลื่อนไหวไม่ใช่กิจกรรม จึงไม่สามารถใช้ทดแทนกิจกรรมขององค์กรได้
กับดักทั้ง 3 อย่างเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจตรงที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมักจะติดกับดักอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทางเดียวที่จะหลีกเลี่ยงกับดักเหล่านี้ได้ หรือถ้าติดกับดักไปแล้วก็สามารถหลุดพ้นออกมาได้ คือ การแนะนำการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่องค์กร
การเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่อง สถาบันต่างๆ ในรูปแบบดั้งเดิมถูกออกแบบมาเพื่อให้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง สถาบันต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล หรือโบสถ์ จึงควรเพิ่มความพยายามให้กับสถาบันของตนเพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเพื่อให้สามารถนำการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่อยู่กันตรงข้ามสถาบันในรูปแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ บุคคลที่ถูกออกแบบและหล่อหลอมมาเพื่อการเปลี่ยนแปลง และในขณะเดียวกันก็ต้องทราบถึงตำแหน่ง หรือจุดยืน หรือสถานภาพของตนในองค์กร ทราบว่าตนเองต้องทำงานกับใครบ้าง ทราบว่าตนสามารถคาดการณ์ หรือคาดหวังในสิ่งใดได้บ้าง ทราบถึงค่านิยมและกฎระเบียบขององค์กร บุคคลจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ ถ้าสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ หรือแม้แต่ไม่ทราบว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร แต่ความต่อเนื่องก็มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมขององค์กรเช่นกัน ในความเป็นจริงแล้ว เรากำลังเรียนรู้กันมากขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ในระยะยาว เพื่อให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างรวดเร็ว องค์กรควรสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และต่อเนื่องกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบและคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย โดยจะต้องคงไว้ซึ่ง บุคลิกภาพ ที่บ่งชี้ถึงเอกลักษณ์ขององค์กรในสายตาของลูกค้าและตลาด ทั้งนี้ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดย่อมนำมาใช้ได้จริงกับทั้งองค์กรธุรกิจและองค์กรอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องจึงควรเป็นปัจจัยที่สนับสนุนกัน ไม่ใช่ปัจจัยที่ขัดแย้งกัน ยิ่งองค์กรที่มีการจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้มากเท่าไร องค์กรก็จะต้องสร้างความต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกให้กับตนเอง และต้องการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกับความต่อเนื่องมากขึ้นเท่านั้น ในอนาคตการสร้าง และรักษาสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกับความต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นประเด็นที่กล่าวถึงกันมากในการบริหารธุรกิจในอนาคตทั้งจากกลุ่มนักบริหาร และนักวิทยาการตลอดจนนักเขียนตำราด้านการบริหาร แต่ปัจจุบันองค์กรบางแห่งถูกจัดว่าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและได้เผชิญกับปัญหามากมาย โดยที่บางปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข
การสร้างอนาคต ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เราพบเห็นได้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และบางทีอาจจะเป็นทั้งโลก คือ โลกเราเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงนับเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว การเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาการ หากแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ การเมือง สังคม ปรัชญา และเหนืออื่นใด คือ การเปลี่ยนแปลงในระดับโลก ทฤษฎี และนโยบายเศรษฐกิจไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิผลอีกต่อไป รวมทั้งทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ก็จะไม่ปรากฏขึ้นในโลกนี้ด้วย เมื่อช่วงเวลานั้นแห่งการเปลี่ยนแปลงไปอีกหลายสิบปีต่อมา จึงจะมีการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาอีกเพื่ออธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่คงจะมีปัจจัยคงที่เกิดขึ้นไม่มากนักในระยะนั้น ความคิดที่พยายามจะปฏิเสธไม่ให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงและบอกกับตนเองว่า วันพรุ่งนี้ก็จะยังคงเหมือนวันวานที่ผ่านมานั้น ช่างเป็นเรื่องไร้สาระ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นตำแหน่งซึ่งสถาบันที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเน้นองค์กรธุรกิจ หรือไม่ก็ตามพยายามสร้างขึ้นมา และที่สำคัญ ก็คือ มีแนวโน้มว่านโยบายต่างๆ มักถูกกำหนดขึ้นมาโดยสถาบันที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ในช่วงก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและสถาบันเหล่านี้เองที่มีโอกาสได้รับผลเสียจากภาพลวงตาที่ว่า วันพรุ่งนี้ก็ยังคงเหมือนกับวันวาน นั่นคือ เราค่อนข้างมั่นใจและพูดได้เต็มปากว่า จำนวนผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในทุกสาขาของปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวงการธุรกิจ การศึกษา และสาธารณสุข นับจากต่อไปนี้อีก 30 ปี ควรจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ความพยายามที่จะคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งที่คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ มีนโยบายเดียวที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จ คือ ความพยายามที่จะสร้างอนาคต แน่นอนการเปลี่ยนใดๆ ก็ตามควรจะสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ อนาคตจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย และสามารถสร้างใหม่ได้ ความพยายามที่จะสร้างอนาคตค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง แต่ก็เรียกว่ายังเสี่ยงน้อยกว่าการไม่ได้ทำอะไรเลย สัดส่วนความพยายามที่จะทำในสิ่งที่บทนี้เสนอแนะย่อมไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็คาดว่าคงจะไม่มีใครทำเช่นนั้น ศูนย์เครือข่าย

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ 21

คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ 21

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทนำ

                        โลกเรากำลังเผชิญกับวิกฤตที่สำคัญและยิ่งใหญ่  วิกฤตนี้เป็นการท้าทายเราเหล่าสัตว์โลกทีเป็นเวไนยสัตว์  เราพบว่าความเจริญทางวัตถุก็ดี  ความสามารถที่เราเอาชนะธรรมชาติได้ก็ดี  การรู้และค้นพบสิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนก็ดี  ความมั่งคั่งของประเทศตลอดจนความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสื่อสารคมนาคมที่ย่อโลกอันกว้างใหญ่ให้เป็นจุดเดียวกันเชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วก็ดีไม่ได้ช่วยให้เรามีความสามารถเพิ่มขึ้นในการแก้ไขปัญหาเรื้อรังหลายด้านของสังคม  ทั้งในระดับชุมชน  ชาติ  และนานาชาติ  เราเชื่อว่าการศึกษามีหรือควรมีบทบาทและภารกิจสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์เพื่อแก้ไขปัญหานี้  ขณะนี้สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบถึงคนไทยทุกคน  ทำอย่างไรคนไทยจึงจะสามารถผนึกกำลัง  ร่วมแรงร่วมใจกันกู้สถานการณ์ของประเทศให้พลิกฟื้นกลับคืนสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว  สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่อุบัติเหตุ  แต่เป็นเหตุที่หลายคนไม่ตระหนัก  เพิกเฉยและรู้เท่าไม่ถึงการณ์  บทเรียนครั้งนี้ คุ้มค่าสำหรับคนไทยที่จะได้ร่วมกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุและรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริงซึ่งก็คือคนไทยโดยรวมยังขาดความรู้ภูมิปัญญาที่จะนำพาประเทศให้คงอยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นโลกที่ไร้พรมแดน  ทั้งด้านความรู้  เศรษฐกิจ  เทคโนโลยีสารสนเทศ  เชื้อชาติ  ศาสนา  วัฒนธรรม  ฯลฯ  การจะเกิดซึ่ง ความรู้ภูมิปัญญา  ได้นั้นทุกคนในขาติจักต้องได้รับการศึกษาที่ดี  มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ  เฟืองจักรสำคัญที่จะนำพาสู่การศึกษาที่ดีมีคุณภาพก็คือ  ครูรุ่ง  แก้วแดง (2543)  กล่าวไว้สอดคล้องกับเอกสารรายงานเกี่ยวกับครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542)  ความว่า ความเป็นครูในสังคมไทยปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหารุมเร้ารอบด้าน  แต่ปัญหาใดก็ไม่เท่ากับวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพครู        ประกอบกับการปฏิรูปการศึกษาเป็นกระแสใหม่ทั่วโลก  เพราะในยุคที่โลกกำลังก้าวหน้าเข้าสู่ศตวรรษที่  21  สภาพของโลกนี้เปลี่ยนไปเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี  เป็นสังคมโลกที่สลับซับซ้อนเชื่อมโยงและเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  สังคมโลกกลายเป็นสังคมความรู้ (Knowledge Society)หรือสังคมแห่งการเรียนรู้(Learning Society)  ครูบุคลากรทางการศึกษาและองค์การทางการศึกษา  จึงต้องปรับตัวให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)   ถึงเวลาแล้วที่ประเทศจะต้องมุ่งไปเพื่อการศึกษาของปวงชน (Education for All)  และขณะเดียวกันทุกภาคส่วนของสังคมต้องทุ่มเทให้กับการศึกษา (All for Education)  การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ชีวิตและการกล่อมเกลาของคน  โดยคนและเพื่อคน  คนจึงเป็นส่วนสำคัญที่สุด เป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ทั้งปวงประกอบกับนานาทัศนะมีความเห็นสอดคล้องกันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า  เศรษฐกิจและสังคมจะดีเพียงใด  แข่งขันในตลาดโลกได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชาชน  คุณภาพแรงงานและคุณภาพของผู้นำในวงการต่าง ๆ  และยังยอมรับกันอย่างแท้จริงว่าคุณภาพคนขึ้นอยู่กับ คุณภาพการศึกษา  และคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลัก    (สุมน อมรวิวัฒน์ , 2533 ; Jacques Delors,1996   อ้างถึงในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  2540; สิปปนนท์  เกตุทัต, 2539 ; UNESCO, 1999 อ้างถึงในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543)  แต่น่าเป็นห่วงว่าในขณะนี้วิชาชีพครูทั่วโลกตกต่ำ  ระบบการจัดการครูไม่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่เก่งและดีมาเป็นครู  นิสิต  นักศึกษาครุศาสตร์  ศึกษาศาสตร์  และประกาศนียบัตรวิชาชีพครูในสถาบันกว่า  125,000  คน และกว่าร้อยละ  35  เลือกเรียนสาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์เป็นอันดับสุดท้าย  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2540 ; กองส่งเสริม
วิทยฐานะครู สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ, 2539 ; สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู , 2544 ; วิทยากร   เชียงกูร, 2542 ; วิจิตร    ศรีสะอ้าน, 2540)  ครูส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะและวิทยาการให้ทันสมัย  คุณภาพครูไทยประจำการในสถานศึกษาทั้งหมดกว่า 600,000  คนได้รับการตั้งคำถามว่าดีจริงหรือ เป็นครูระดับ มืออาชีพได้หรือไม่  มีจำนวนกี่มากน้อย  ยิ่งถ้าต้องการปฏิรูปกระบวนการการเรียนรู้และจัดโครงสร้างเงินเดือนครูระบบใหม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 (มาตรา 55)  ยิ่งมีคำถามเกี่ยวกับคุณภาพครูมากขึ้น  สภาพการณ์เหล่านี้มีความเข้มข้นและมีประเด็นสงสัยน่าศึกษาอย่างยิ่งว่า  เกิดอะไรขึ้นกับสภาพการณ์ของครู จะแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างไร  ดังนั้นจึงต้องมีระบบหรือวิธีการที่จะทำให้สังคมไทยมีความมั่นใจว่าครูไทยทุกคนไม่ว่าจะทำหน้าที่ในสายงานในระบบและนอกระบบจะต้องมีคุณภาพเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้การศึกษาไทยและอนาคตคนไทยมีโอกาสดีขึ้น  สิ่งหนึ่งในความพยายามที่จะยกระดับคุณภาพครูก็คือกระบวนการกำหนดคุณลักษณะครูรุ่นใหม่และกระบวนการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพครูรุ่นใหม่  การประเมินมาตรฐานวิชาชีพครูด้วยเกณฑ์คุณลักษณะครูที่มีมาตรฐาน  มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และค่าตอบแทนที่สัมพันธ์กับคุณภาพครู  นี่คือกลไกอันเป็นหลักประกันคุณภาพครูรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543 ; ศรีน้อย   โพวาทองและคณะ, 2542 ; สมหวัง   พิธิยานุวัฒน์, 2543 ; สุรศักดิ์   หลาบมาลา, 2543 ; อมรวิชช์   นาครทรรพ, 2540 ; สิริพร   บุญญานันต์, 2538 ; อรรณพ   พงษ์วาทและจิตรกร   ตั้งเกษมสุข, 2539)

ทำไมต้องผลิตครูรุ่นใหม่

                        จากการศึกษาสภาพการณ์ ( Contextual Study )  ความต้องการจำเป็นต่อการผลิตครูรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพได้ข้อค้นพบว่า
1.       สังคมส่วนรวมมีความเชื่อว่า  การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน
ให้สามารถนำการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  และวัฒนธรรม  ให้เหมาะสม  สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกประเทศ  ผลผลิตของระบบการศึกษาคือพลเมืองของประเทศที่สามารถปรับตัวและสามารถแก้ปัญหาที่มีความหลากหลายในสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสามารถริเริ่มพัฒนาตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  ตลอดจนประเทศให้พัฒนาและก้าวหน้าไปได้อย่างมีหลักการบนพื้นฐานของความเข้าใจเหตุและผล  ความถูกต้อง  ความดีงาม  และความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
                        2.  สังคมส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า การศึกษาที่พึงประสงค์ในสังคมปัจจุบันจะต้องเป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนให้สมดุลทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา  จิตใจและสังคม  ทั้งในระดับความคิด  ค่านิยมและพฤติกรรม  ซึ่งต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคล  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ  โดยปรับแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาให้เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยจัดการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  จัดในรูปแบบที่หลากหลาย  เพื่อสนองความต้องการ  ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน
                        3.  คนส่วนมากมีความเชื่อว่า  การจัดการศึกษาในลักษณะที่ต้องการจำเป็นจะต้องใช้ครูที่มีลักษณะเฉพาะ  มีความสามารถสูง  (เป็นครูรุ่นใหม่ระดับครูมืออาชีพ) และได้รับการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรและวิธีการสอนที่มีความเข้มข้นและมีคุณภาพมาอย่างดี  สามารถทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพมีศักดิ์ศรีและมีเกียรติ ในอดีตสังคมไทยเคยยกย่องครูโดยเปรียบเทียบเป็นปูชนียบุคคลที่รอบรู้  รู้จริง  รู้แจ้ง  ทั้งนี้เพราะครูในอดีตส่วนใหญ่คือ พระอาลักษณ์  นักปราชญ์และผู้รู้ในหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็น คนดี  คนเก่ง  ในวิชาความรู้แขนงต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันความรู้สึกผูกพันต่อครูดังกล่าวได้เสื่อมถอยลง  อันเนื่องมาจากครูต้องปรับพฤติกรรมตามสภาพทางเศรษฐกิจ  สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  ความเชี่ยวชาญทางวิชาการและความเอาใจใส่ต่อเด็กลดถอยลง 
                        4.  จากสาระการปฏิรูปและกระแสสังคม เศรษฐกิจบ่งชี้วิสัยทัศน์ พบว่าในโลกยุคใหม่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ( Learning Society )  ครูจะต้องมีบทบาทหน้าที่ซับซ้อนขึ้น ครูจะต้องมีความรู้  ประสบการณ์และก้าวทันสถานการณ์โลก จะต้องเป็นผู้มองกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้  ครูจะต้องจัดระบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา คือ ต้องสอนโดยยึดพื้นฐานความรู้  ความสามารถ  ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก  ครูในอนาคตจึงต้องมีมาตรฐานคุณภาพในระดับครูมืออาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคมในระดับสูง ดังนั้น ครูจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับสังคมยุคใหม่  ที่จะปรับเปลี่ยนไปทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยเชื่อว่าครูในปัจจุบันและอนาคตจะต้องมีคุณลักษณะโดดเด่น  ดี  เก่ง  ทันโลกและเป็นครูมืออาชีพ
                        5.  จากการวิเคราะห์ พบว่า  ในปัจจุบันวิกฤติในวงการครูทั้งในประเทศและต่างประเทศปัญหาหลักๆ จะคล้ายคลึงกัน ได้แก่ การที่คนดีคนเก่งไม่สนใจเข้าเรียนครูเป็นลำดับต้น ๆ เมื่อเรียนสำเร็จแล้วส่วนหนึ่งจะไม่ประกอบอาชีพครู  ทำให้ไม่สามารถบำรุงรักษาครูดีๆ ไว้ได้  ทั้งนี้เหตุผลหนึ่งเนื่องมาจากค่าตอบแทนของครูต่ำมากเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ความตั้งใจและทุ่มเทต่อการเรียนการสอนของครูก็ลดต่ำลงประกอบกับการเรียนการสอนในสถาบันฝึกหัดครูมุ่งสอนเนื้อหามากกว่าให้คิดวิเคราะห์และปฏิบัติ  การสอนไม่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ดังนั้นครูในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงขาดความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็นครู  ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ความนิยมยกย่องของสังคมต่อครูจึงลดลงทำให้วิชาชีพครูตกต่ำลง  รวมทั้งในต่างประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤติครูดังกล่าวข้างต้นต่างก็พยายามแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาของครู เช่นเดียวกันซึ่งประสบความสำเร็จมาในระดับหนึ่งซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างให้เป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทย  ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของครู  โครงสร้างการบริหารจัดการเกี่ยวกับครูและระบบโรงเรียน  ศักดิ์ศรีการยอมรับในวิชาชีพครูที่ถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ยั่งยืน  ประโยชน์เกื้อกูลและการส่งเสริมพัฒนาบทบาทวิชาชีพครูทั้งตนเอง  ระบบการศึกษาและการบริหารจัดการโดยรวมที่สอดคล้องสัมพันธ์กับโครงสร้างด้านอื่นเช่นเศรษฐกิจ  สังคม การดำรงชีพ วัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  และจิตวิทยา
6.       ในมุมมองในประเทศไทยกับสภาพการณ์ที่ปรากฏ (Situation Study) สามารถ
มองเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงและมีประเด็นสำคัญที่เป็นเหตุผลและความเกี่ยวข้องกับความจำเป็นในการพัฒนาครูรุ่นใหม่การพัฒนาครูรุ่นใหม่และวิชาชีพครู สรุปได้ คือ
            1.  ประเด็นความล้มเหลวด้านคุณภาพของผู้เรียน  ซึ่งปรากฎข้อมูลเชิงประจักษ์ในการแข่งขันทางวิชาการในระดับนานาชาติหรือในระดับเอเชียและการจัดคุณภาพการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล  ระดับนานาชาติของสถาบัน IMD ซึ่งพบว่าคุณภาพของประเทศไทยอยู่อันดับท้าย ๆ
            2.  ประเด็นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ได้ก่อให้เกิดแนวทางและมาตรการปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษาและปฏิรูปโรงเรียน
            3.  ประเด็นการใช้กฎหมายให้เป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการด้านการศึกษา นอกเหนือจากแผนการศึกษาแห่งชาติ  ซึ่งพบว่า  กฎหมายหลักและกฎหมายประกอบทางการศึกษาทำให้เกิดผลบังคับและคิดค้นแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับครู  และหลักสูตรพัฒนาครู  เช่น  การเน้นคุณภาพผลผลิต  โครงสร้างการบริหารองค์การครู  การบริหารงานบุคคล  การจัดองค์กรวิชาชีพ  การออกใบประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู  จรรยาบรรณวิชาชีพครู  การอนุมัติหลักสูตร  คุณวุฒิ  วิทยฐานะ  ค่าตอบแทนวิชาชีพครูและการยกฐานะวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
            4.  ประเด็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ก่อให้เกิดกระแสการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  การปรับปรุงบทบาทและการปรับพฤติกรรมการสอนของครู  ให้เป็นครูยุคใหม่ที่มีทั้งศาสตร์ (Science)  คือความลุ่มลึกจัดเจนในเนื้อหา ( Subject Matters)  มีศิลปการสอน (Methodology)  คือมีเทคนิควิธีการถ่ายทอดการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างมีความสุขและตระหนักผลที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ
            5.  ประเด็นจุดเน้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  8 (..2540 – 2544)  และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  9 (..2545 – 2549) ได้วิเคราะห์ให้เห็นจุดด้อยในคุณภาพและความสามารถของคนไทยจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนเป็นสำคัญ มีแผนพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องชัดเจนโดยเน้นคุณภาพครูและวิธีการสร้างครูรุ่นใหม่ และสอดคล้องสัมพันธ์ระหว่างการบริหารครู  การใช้ครูและการพัฒนาครู
            6.  ประเด็นที่ชี้ให้เห็นความสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ  และการมีผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes)  ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับและเน้นการวิจัยชั้นเรียน  กระบวนการเหล่านี้เป็นกระแสสำคัญต่อการปฏิรูปบทบาทของครูให้เป็นผู้นำทางวิชาการที่ใช้พันธกิจและทิศทางเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ปรากฏและนำไปสู่การเป็นนักแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและปรับปรุงกำหนดตำแหน่งเป็น  ครูมืออาชีพ  เป็นครูต้นแบบ  เป็นครูผู้เชี่ยวชาญ  เป็นครูนักวิจัย  เป็นครูผู้นำทางวิชาการ  เป็นครูนักเปลี่ยนแปลง  โดยใช้ผลงานศึกษาวิจัยเป็นเครื่องชี้วัดและประเมินผลคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
            7.  ประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษา  ได้ก่อให้เกิดกิจกรรมการประเมินคุณภาพการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านปัจจัยด้านกระบวนการและผลผลิตทางการศึกษาเพื่อนำไปสู่การประกันคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งนี้โดยมีการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกและนำไปสู่การพัฒนาสถานะภาพผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานสากล
            8.  ประเด็นกระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization Currently)  ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านวิสัยทัศน์  สังคม  สิ่งแวดล้อม  เศรษฐกิจ  การเมือง  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการสื่อสาร  ทั้งทางบวกและทางลบ  แนวคิด  ค่านิยม  ความเชื่อได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการดำรงชีวิต  การเรียนรู้ สังคมความรู้ สังคมปราชญ์และผลกระทบในการพัฒนาครู  การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพครูอย่างสำคัญ (โณทัย   อุดมบุญญานุภาพ, 2543)

คุณลักษณะครูรุ่นใหม่ควรมีลักษณะอย่างไร

                        ตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาด้านปัจจัยเพื่อประเมินภายนอก 4 มาตรฐาน  12  ตัวบ่งชี้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ดังนี้
1.       มาตรฐานด้านมีวิญญาณความเป็นครู  มีคุณธรรมจริยธรรม  ประกอบด้วย
ตัวบ่งชี้  1  ครูมีความเอื้ออาทร  เข้าใจและเอาใจใส่ผู้เรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียมกัน
            ตัวบ่งชี้  2  ครูมีมนุษยสัมพันธ์  ควบคุมอารมณ์ได้และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
            ตัวบ่งชี้  3  ครูมีความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์  ตรงต่อเวลา  อุทิศตนให้กับการพัฒนาผู้เรียน
            ตัวบ่งชี้  4  ครูวางตนเหมาะสม  เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความประพฤติและบุคลิกภาพ
            ตัวบ่งชี้  5  ครูมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู
            2.  มาตรฐานด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ประกอบด้วย
            ตัวบ่งชี้  1  ครูรู้เป้าหมายของหลักสูตรและเป้าหมายการจัดการศึกษา
            ตัวบ่งชี้  2  ครูมีความรู้ความสามารถในการประเมินผลการเรียนการสอน  จัดทำแผนและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            ตัวบ่งชี้  3  ครูมีความรู้ความสามรถในการเรียนการสอนและการนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาคุณภาพ
            3.  มาตรฐานด้านความสามารถในการแสวงหาความรู้  คิดวิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนประกอบด้วย
            ตัวบ่งชี้  1  ครูมีนิสัยรักการแสวงหาความรู้และข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาการเรียนสอน
            ตัวบ่งชี้  2  ครูมีความสามารถในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
            ตัวบ่งชี้  3  ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ได้
4.       มาตรฐานด้านคุณวุฒิ  ความรู้  ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้  1  ครูมีคุณวุฒิ  มีความถนัด  มีความเชี่ยวชาญตรงกับงานที่ปฏิบัติการสอน
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543)
หลักและมาตรฐานคุณลักษณะตามเกณฑ์การประเมินครูใหม่  10  ประการเพื่อการออกใบประกอบวิชาชีพครู  มาตรฐานนี้เทียบเท่าวุฒิบัตรชั้นสูงของสภาแห่งชาติด้านมาตรฐานวิชาชีพการสอน (NBPTS)  ได้แก่
หลักประการที่  1  ครูต้องเข้าใจความคิดหลัก  เครื่องมือที่จะใช้หาความรู้และโครงสร้างของหลักการที่ใช้สอน  และสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทำให้ลักษณะต่าง ๆ นี้มีความหมายแก่นักเรียน
หลักประการที่  2  ครูต้องเข้าใจว่าเด็กเรียนรู้อย่างไรและพัฒนาอย่างไรและสามารถตระเตรียมโอกาสแห่งการเรียนรู้ที่สนับสนุนการพัฒนาทางสติปัญญาและสังคมส่วนบุคคล
หลักประการที่  3  ครูต้องเข้าใจว่านักเรียนแตกต่างกันอย่างไรในการมีแนวทางเรียนรู้และครูต้องสร้างโอกาสทางการสอนที่มีการปรับให้เข้ากับนักเรียนที่มีความหลากหลาย
หลักประการที่  4  ครูต้องเข้าใจและใช้ยุทธศาสตร์การสอนต่าง ๆ ที่จะช่วยเร่งเร้าการพัฒนาของนักเรียนให้มีความคิด  รู้จักวิพากษ์วิจารณ์  แก้ปัญหาและแสดงทักษะได้
หลักประการที่  5  ครูต้องใช้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบันดาลใจและพฤติกรรมของกลุ่มและส่วนบุคคลที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เร่งเร้าการพบปะสังสรรค์ทางสังคม  การเข้าไปเกี่ยวข้องในการเรียนรู้และการสร้างพลังใจของตนเอง
หลักประการที่  6  ครูต้องใช้ความรู้ที่มีประสิทธิภาพในหลักการนิเทศด้านการใช้คำพูด การไม่ใช้ถ้อยคำและสื่อที่จะให้มีการเรียนรู้อย่างจริงจัง  มีการร่วมมือ  การพบปะสังสรรค์ในชั้นเรียน
หลักประการที่  7  ครูต้องวางแผนการสอนโดยมีพื้นฐานทางความรู้ในเรื่องราวที่สอนประชาคม  และเป้าหมายในหลักสูตร
หลักประการที่  8  ครูต้องเข้าใจและใช้ยุทธศาสตร์การประเมินอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในการวัดผลและให้มั่นใจว่านักเรียนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทางปัญญา ทางสังคมและทางกายภาพ
หลักประการที่  9  ครูต้องเป็นนักปฏิบัติที่มีการทบทวนตนเอง  โดยวัดผลอย่างต่อเนื่องในผลของทางเลือกและการปฏิบัติต่อคนอื่นๆ (นักเรียน  ผู้ปกครองและผู้มีวิชาชีพในประชาคมแห่งการเรียนรู้) และเป็นผู้เสาะแสวงหาโอกาสที่จะมีการเติบโตในทางวิชาชีพ
หลักประการที่ 10  ครูต้องสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานในโรงเรียน  ผู้ปกครอง  และองค์กรในประชาคมที่กว้างขวางมากขึ้น  เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียน  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2540)
คุณสมบัติ  6  ประการตามมาตรฐานครูแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (Advanced Skills Teacher)
1.  ครูมีผลงานเป็นเลิศ  โดยมีผลการสอนที่ปรากฏที่ตัวนักเรียนโดยนักเรียนแสดงผลการเรียนและพฤติกรรมอย่างสูง  อย่างสม่ำเสมอ  มีหลักฐานแสดงผลร่วมกับผู้ปกครองและผู้ปกครองมีความพอใจ
2.  ครูมีความเป็นเลิศในวิชาที่สอนหรือความรู้ในสาขาวิชาพิเศษ  โดยมีความรู้ในวิชาที่ตนสอนอย่างเชี่ยวชาญ  ลึกซึ้ง  กว้างขวาง  ทันตามความก้าวหน้าของวิชาการ  ครูมีความเข้าใจการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารในการสอนวิชาของตนอย่างเชี่ยวชาญ
3.  ครูมีความสามารถในการวางแผนอย่างดี  โดยเตรียมบทเรียน  และลำดับการสอนอย่างมีวัตถุประสงค์ที่ชัดแจ้ง  มุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างประสบผลสำเร็จ  มีความคาดหวังสูงให้กับนักเรียน  และครูสามารถวางแผนการสอนโดยใช้ประโยชน์จากผลการเรียนของนักเรียนทั้งในอดีตและปัจจุบัน
           4. ครูมีความสามารถเป็นเลิศในการสอน  การจัดการานักเรียนและการรักษาวินัยในห้องเรียนอย่าง สร้างสรรค์  ท้าทายและมีความสุขโดยครูมีความสามารถใช้วิธีสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถท้าทายให้กลุ่มนักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์  กระตือรือร้น  สามารถใช้คำถามและอธิบายยกตัวอย่าง สาธิต  อย่างชำนาญการเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าสูงสุด  มีความสามารถในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความยุ่งยากในการเรียนและความประพฤติ  ครูสามารถรักษาความเคารพนับถือและรักษาวินัยในห้องเรียนได้อย่างยุติธรรม
            5. ครูมีความเป็นเลิศในการประเมิน  โดยใช้วิธีการประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการสอนและปรับปรุงการสอนจากผลการประเมิน  ให้สัมพันธ์กับความก้าวหน้าของนักเรียนและเป้าหมาย
            6. ครูมีความเป็นเลิศในการให้คำแนะนำและสนับสนุนเพื่อนครู  โดยสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับไปให้การสนับสนุน  คำแนะนำอย่างดีแก่เพื่อนครู  สามารถทำตัวเป็นแบบอย่างในการสอน  สาธิต  ฝึกอบรม  ให้ความร่วมมือ  ทั้งในโรงเรียนของตนและสถานการณ์อื่นอย่างมีคุณค่า  รู้วิธีการวางแผนและจัดลำดับความสำคัญของเวลาและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน (สรุศักดิ์   หลายมาลา, 2543 ; สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543 ; Advance Skills Teachers (cited 2000  Oct , 10) Avaible from URL: http://www.dfee.gov.uk/ast/index.htm)
            คุณลักษณะครูรุ่นใหม่ที่สำคัญและเป็นจุดเด่นในศตวรรษที่ 21 ควรมีคุณลักษณะดังนี้
            1.  มีความสนใจเสาะแสวงหาความรู้  กระตือรือร้นที่อยากเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
            2.  มีความรอบรู้ด้านปรัชญาการศึกษา  นโยบายทางการศึกษา  กฎหมายการศึกษา  มาตรฐานวิชาชีพครู  มาตรฐานการศึกษา  จิตวิทยาการศึกษาและหลักสูตรการสอนทั่วไป
            3.  มีความรอบรู้ความสามารถที่ทันสมัย  ทันเหตุการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลง  โดยสามารถเชื่อมโยงสภาพท้องถิ่นเข้ากับมาตรฐานสากลในลักษณะสหวิทยาการ
4.       มีความรู้ความสามารถในวิธีการแสวงหาความรู้
5.       รู้จักและเข้าใจพัฒนาการของผู้เรียน
           6.   มีความรู้และทักษะในวิชาชีพที่สอนอย่างลุ่มลึก  ชัดเจน  สามารถสอนแล้วผู้เรียนเข้าใจมีความสามารถเรียนรู้ได้และสนุกกับการ  เรียนรู้  สอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเต็ม  ความสามารถ  เต็มเวลา  และเต็มหลักสูตร
            7.  มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้และมีความสุข  สนุกในการเรียนการสอนมีความสามารถในการสังเกตและรู้จักแก้ไขพฤติกรรม  การเสริมแรงและการลงโทษที่เหมาะสม
            8.  มีทักษะในการสอนอย่างเชี่ยวชาญและสร้างสรรค์การเรียนรู้จนสามารถพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพตามความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยปลุกเร้าให้ผู้เรียนแสดงความสามารถอย่างเต็มที่  เน้นการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสนองผู้เรียนเป็นสำคัญ
9.       มีความรู้และความเข้าใจในเป้าหมายและวิธีการของหลักสูตรและการสอน
10.   มีความสามารถในการออกแบบ  วางแผนการสอนการบริหารจัดการชั้นเรียน  วิจัย
และพัฒนาการสอน  มีความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถวัดผลประเมินผลพัฒนาการของการเรียนรู้ได้หลายวิธีได้อย่างเหมาะสม  สม่ำเสมอ
11.   มีความรัก  ศรัทธาที่จะเป็นครู  มีความเมตตากรุณาและเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์
            12. มีจริยธรรม  มีกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย วางตนอยู่ในศีลธรรมอันดีเปี่ยมด้วยคุณธรรมฝึกหัดปฏิบัติตนยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครูโดยชี้แนะทางถูกต้องแก้ไขสิ่งผิดและยึดมั่นตามหลักศาสนา
            13.  มีบุคลิกภาพดีเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเด็กและสาธารณชน  ในด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  และการดำรงชีวิต
            14.  มีความรับผิดชอบในหน้าที่มุ่งมั่นในการทำงานทำงานเป็นระบบและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
            15.  มีความสามารถในการปลูกฝังวินัย คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดี และถูกต้องต่อผู้เรียน
           16. ความสามารถในการจัดระเบียบเนื้อหาสาระการเรียนรู้  และจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  ให้สอดคล้องกับพัฒนาการผู้เรียนและมีความสามารถพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้ตรงความต้องการของท้องถิ่น

หลักสูตรผลิตครูรุ่นใหม่ควรมีลักษณะอย่างไร      

                        คุณลักษณะทั่วไปของนักศึกษาครูในศตวรรษ 21 ในระดับอุดมศึกษาสาขาครุศาสตร์  ศึกษาศาสตร์  ซึ่งอยู่ในวัยกำลังจะเป็นผู้ใหญ่ในระดับปริญญาตรีเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นและมีอุดมการณ์ สนใจในสิ่งที่อยากรู้  ต้องการการยอมรับของเพื่อน  อาจารย์ และสังคม  ต้องการที่จะสามารถนำตนเองได้  เป็นบุคคลที่มุ่งสร้างประสบการณ์และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ( Self Directed Learning)  มักสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม  การจัดการเรียนการสอนควรมุ่งจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์และให้สามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์และบริบทของผู้เรียนจะสามารถช่วยให้เรียนรู้ได้ดี (ไพฑูรย์  สินลารัตน์, 2542 ; สุวัฒน์  วัฒนวงศ์, 2538 )
ปฏิณญาสากลว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาศตวรรษที่ 21 ณ กรุงปารีส (5-9.. 2541)  ได้บัญญัติไว้ว่า  การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเห็นผลผลิตคุณภาพของนักศึกษาระดับอุดมศีกษาจะต้องมุ่งพัฒนาด้านสำคัญและให้บรรลุคุณลักษณะของผู้เรียนรู้ดังนี้  คือ
1.  จะต้องมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาน  มีความคิดและการติดสินใจด้วยตนเอง
2.  จะมุ่งแสวงหาความรู้ด้วยการศึกษาด้วยตนเอง  การศึกษาที่ต่อเนื่องและการศึกษาเพื่อการดำรงชีวิตและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Person) มีทักษะชีวิตที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
3.  มีความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง  ประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีทักษะกระบวนการแก้ไขปัญหา
4.  การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านเครือข่ายได้อย่างชำนาญและมีทักษะการสื่อสารสารสนเทศด้านภาษาและเครือข่าย
5.  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  (Learning Society)  (ปฏิณญาสากลปารีส October, 1998 ; Education Goal, 2000)
หลักสูตรผลิตครูรุ่นใหม่มีลักษณะสำคัญและจะเน้นให้เหมาะในศตวรรษที่ 21 คือ
            1.  มีระยะเวลาการเรียนที่ยาวนานยิ่งขึ้น  โดยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  ประยุกต์ความรู้เพื่อสอน  วิจัยและพัฒนา เสนอผลงานต่อสถาบันและสาธารณชนในรอบ 1 ปี
2.       ใช้คุณลักษณะของครูรุ่นใหม่  กำหนดเป็นจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยตรง
3.       องค์ประกอบของกลุ่มวิชาในหลักสูตรและจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 170 หน่วยกิต
จัดเป็น 4 กลุ่มวิชา  คือ
3.1  กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป        จำนวน  30 – 35  หน่วยกิต
3.2  กลุ่มวิชาชีพครู                     จำนวน  45 – 55  หน่วยกิต
           3.3  กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และการประยุกต์ จำนวน  25 – 30 หน่วยกิต
3.4 กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้านหรือวิชาเอก จำนวน 60 – 70 หน่วยกิต
4.       มีเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เข้มข้นยิ่งขึ้นคือ  จะต้องได้ระดับผลการเรียนไม่
ต่ำกว่า  C  หรือ  S  ทุกรายวิชา  มีคะแนนสะสมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า  2.50 และมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  90  ของเวลาเรียนในแต่ละรายวิชา
            5.  มีเกณฑ์คุณลักษณะการคัดเลือกผู้จะเข้าเรียนตามกรอบหลักสูตร ที่มุ่งเน้นให้คัดเลือกคนดี คนเก่งและมีจิตใจที่ชอบที่จะเป็นครูเข้าเรียน
            6.  มีจุดเน้นในโครงสร้างในวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการและการแก้ไขปัญหาคุณภาพทางวิชาการของครูยุคใหม่คือ
5.1       เน้นวิชาภาษาอังกฤษที่มุ่งให้ครูสามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ในระดับสูง
5.2       เน้นวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่มุ่งให้ครูเป็นนักเทคโนโลยี  เพื่อ
พัฒนาสื่อนวัตกรรมการสอน                    
5.3       เน้นวิชาวิจัยทางการศึกษาที่มุ่งให้ครูเป็นนักวิจัย  สามารถวิจัยและพัฒนาทางการ
เรียนการสอน แก้ปัญหาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5.4       เน้นทักษะกระบวนการคิด การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ความคิดสร้างสรรค์ที่เน้นให้
ครูเป็นนักคิด  นักเปลี่ยนแปลง  ปรับปรุงด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างมีระบบและมีวิจารณญาณ  ซึ่งเป็นแบบอย่างของครูรุ่นใหม่
            6.5  เน้นความรู้อย่างลึกซึ้ง  กระจ่างชัดในเนื้อหาวิชาเอกและวิชาความเป็นครู  ให้แตกฉานระดับครูมืออาชีพ  โดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตการเรียนรู้อย่างสมดุลและสัดส่วนระหว่างวิชาชีพครู  วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพและวิชาเอก

หลักสูตรผลิตครูรุ่นใหม่ควรมีหลักการสำคัญดังนี้
            1.  เป็นการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตวิชาชีพครูสาขาต่างๆ  ให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพโดยให้มีความรู้  สติปัญญา  มีความสามารถในการสอนและมีคุณธรรมจริยธรรม
2.  เป็นการศึกษาที่มุ่งให้บัณฑิตสามารถบูรณาการ  ประยุกต์พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการสอนในสถานศึกษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ท้องถิ่นและสากล
3.  เป็นการศึกษาที่มุ่งให้บัณฑิตสร้างความเป็นเลิษในวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างภาคภูมิมั่นคงและน่าเชื่อถือ
4.     เป็นการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มศักยภาพโดยอาศัยสื่อ  นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่กว้างชวาทั้งในท้องถิ่น ในประเทศและต่างประเทศ  เน้นการใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิตและการเรียนรู้ที่เข้มข้นและหลากหลาย
5.         เป็นหลักสูตรที่มีความสมดุลทั้งเนื้อหาสาระและกิจกรรม  พัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนในลักษณะหลักสูตรบูรณาการสัมพันธ์วิชา  (Correlation  and  Integrated  Curriculum)
จากสาระสำคัญแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  ได้บัญญัติไว้ว่า  ให้กระทรวงศึกษาส่งเสริมให้มีระบบการผลิตและพัฒนาครู  คณาจารย์และบุคลากรการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง  โดยการกำกับและประสานงานให้สถาบันที่ผลิตครูและพัฒนาครูคณาจารย์รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง…”  ดังนั้นภายใต้ความมุ่งหวังที่จะให้การศึกษาเป็นกลไกการพัฒนาคุณภาพคนของประเทศเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ  เสริมสร้างศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและการแข่งขัน  รวมทั้งความก้าวหน้าและมั่นคงทางเศรฐกิจในประชาคมโลกบนฐานแห่งความเป็นไทย  ครู  เป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะทำให้การศึกษาเป็นกลไกนำไปสู่คุณภาพคนของประเทศได้  ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับ  ครู  และ  วิชาชีพครู  จำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการปรับปรุง แก้ไขพัฒนาโดยเร่งด่วนเพื่อให้การศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพ  ครู  ได้สมตามเจตนารมย์ที่ตั้งไว้  ความต้องการจำเป็นจึงต้องสมควรที่จะสร้างสรรค์  ครูรุ่นใหม่  ที่ยอมรับและสามารถแสดงพันธกิจและทิศทางของตนเองได้อย่างเต็มที่และสมบทบาท  ด้วยคุณลักษณะครูที่มีมาตรฐานและนั่นคือการสร้างสรรค์คุณลักษณะครูรุ่นใหม่ที่เป็นมืออาชีพและสร้างสรรค์หลักสูตรครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ที่มีเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนรู้และการฝึกหัดที่เข้มข้นมีประสิทธิภาพ  รัฐและองค์กรจะต้องมีระบบการกำหนดคุณลักษณะครูรุ่นใหม่  มีหลักสูตรครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ที่มีคุณภาพโดยมีสาระและวิธีการพัฒนาคุณลักษณะให้ครูรุ่นใหม่ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่ง  บทบาทหน้าที่ครู  พร้อมที่จะแข่งขันกับวิชาชีพอื่นและเพื่อให้ได้ครูรุ่นใหม่ระดับมืออาชีพอยู่ในสถาบันและสังคมที่ยิ่งใหญ่กว้างไกลอย่างมีเกียรติและได้รับในปัจจุบันและอนาคต
อนึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การปฏิรูปการศึกษาไม่มีวันสำเร็จถ้าไม่ได้ปฏิรูปครู  เพราะครูเป็นกุญแจสำคัญของการนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ซึ่งเป็นรูปหัวใจในการปฏิรูปการศึกษา  ดังนั้นจึงได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของการผลิตครู  และการพัฒนาครูให้เป็นครูคุณภาพ  และเป็นครูมืออาชีพ เป็นครูที่รักของผ้เรียนและพร้อมที่จะเรียนรู้และส่งเสริมชี้แนะให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพและเป็นผู้รักในการเรียนรู้  เป็นครูที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเพื่อยกมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง  เป็นครูมุ่งพัฒนา  สามารถประเมินและปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง  พร้อมปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูอย่างเคร่งครัด  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและผู้อื่น  มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแข่งขันและมีความร่วมมือ  มีความเป็นไทยในความเป็นสากล  เป็นคนเก่งเป็นคนดี  และมีความสุขดังนั้น  จากสภาพการณ์  ความคาดหวัง  และความต้องการพัฒนา  จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายภารกิจและทิศทาง  ในการปฏิรูปวิชาชีพครู  โดย
1.    เพิ่มคุณสมบัติและคุณลักษณะของผู้จะเป็นครูและผู้จะได้รับการยกย่องเป็นครูมืออาชีพโดยมีการกำหนดระดับคุณลักษณะครู  (NTQ :  National  Teachers  Qualification)
2.    เร่งจัดระบบ  กลไก  เชื่อมโยง  เกื้อกูลระหว่างระบบการผลิต  การพัฒนา  การบริหารครู  การยกย่องครู  มุ่งพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง  โดยปรับปรุงหลักสูตรผลิตครูพัฒนาครูและขยายหลักสูตรปริญญาตรี  สาขาการศึกษาศาสตร์  เป็น  5  ปี  เพื่อความเข้มข้นของศาสตร์  ศิลปการสอน  และจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู  นำไปสู่การปรับโครงสร้างของเงินเดือน  ค่าตอบแทนและวิทยฐานะครูรุ่นใหม่
            ครูรุ่นใหม่เป็นบุคลากรวิชาชีพ  ซึ่งทำหน้าที่หลักทั้งทางด้านการเรียนการสอน  และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ  ในสถานศึกษาของรัฐ  และเอกชน  โดยมีองค์ประกอบคุณลักษณะที่เพียบพร้อมในด้านความรอบรู้ในวิทยาการในฐานะครูและพลเมืองที่มีคุณภาพ  มีความสามารถและทักษะในด้านการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์การเรียนรู้  สมกับเป็นบุคลากรในวิชาชีพชั้นสูง  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และบุคลิกภาพสมกับความเป็นครู  และมีความรู้อย่างลึกซึ้ง  กว้างขวางในศาสตร์สาขาที่สอน  (Subject  Matter)  อันนำไปสู่บุคลากรวิชาชีพ  ผู้ซึ่งสมควรได้รับใบประกอบวิชาชีพครู  ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพที่สภาวิชาชีพครูจะกำหนด  การดำเนินการเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู  คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงและเป็นที่ยอมรับจากสังคมทั่วไป  เริ่มต้นตั้งแต่การปรับปรุงระบบการผลิตครูเพื่อให้การผลิตครูสอดคล้องกับสภาพความต้องการ  ความจำเป็นทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพโดยการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูรุ่นใหม่ให้เข้มข้นในศาสตร์ที่สอนและหลากหลายในวิธีการสอน.