วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทความภาวะผู้นำต่อการพัฒนาองค์การ

                การปฏิรูปโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ย่อมก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  อย่างไรก็ตาม  การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยคน (People) ซึ่งได้แก่ ผู้บริหาร  คณะครูอาจารย์และบุคลากรของโรงเรียน  กล่าวคือในโรงเรียนคุณภาพ (Quality  school) พบว่า ครูและบุคลากรแต่ละคนต่างร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยกันทำให้การปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้โดยง่าย  คนเหล่านี้ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและพยายามใช้โอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นให้เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนของตน  ส่วนบทบาทสำคัญของผู้นำโรงเรียนก็ต้องมีหน้าที่คอยช่วยเหลือให้บุคลากรรู้สึกสบายใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น  ทั้งนี้หากคนเหล่านี้ยังรู้สึกวิตกกังวลก็จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง  ทำให้โอกาสปรับปรุงโรงเรียนทำได้ยากลำบากขึ้น  แต่ในทางตรงข้ามยิ่งบุคลากรมีระดับความพอใจเพิ่มขึ้นก็ยิ่งทำให้การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงง่ายขึ้นเช่นกัน
          แนวคิดในการทำงานร่วมกันแบบกลุ่มได้มีการพิสูจน์แล้วว่าให้ผลงานมากกว่าผลรวมของงานที่เกิดจากแต่ละคนทำ  แนวคิดการทำงานแบบกลุ่มจึงถูกนำมาใช้ในภาคธุรกิจอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในยุคธุรกิจที่มีสารสนเทศเป็นฐาน (Information – based  economy)  ซึ่งมีการแข่งขันในระดับโลกสูงมาก  มักจะวัดผลสำเร็จขององค์การที่เกิดจากพลังสมอง (Brain  power) ของทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ในองค์การนั้น  โดยที่คนเหล่านั้นร่วมกันเรียนรู้แบบทีม (Team  learning) และร่วมมือกันแก้ปัญหา  ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล  และองค์การสามารถสร้างผลงานได้สูงสุดจากบุคลากรเหล่านี้  แนวคิดการเรียนรู้แบบทีมและการร่วมมือกันแก้ปัญหา ดังกล่าวจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับการใช้ในโรงเรียน  เพราะนอกจากจะให้ผลดีเช่นเดียวกับในภาคธุรกิจแล้ว  ยังช่วยลดปัญหาที่ครูต้องทำงานสอนแบบตามลำพัง  ดังที่เป็นอยู่ในโรงเรียนทั่ว ๆ ไปให้น้อยลง  หรือกล่าวได้ว่า  ปรากฏการณ์ที่โรงเรียนมีบรรยากาศของการทำงานที่ผิดปกติ (Dysfunction) ของครูก็จะหมดไปในที่สุด
                การที่กลุ่มคนต้องทำงานโดยต้องร่วมมือพึ่งพาอาศัยกันและกัน  เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย  การสร้างทีมทำงานมีความสำคัญต่อผลสำเร็จของกระบวนการเน้นคุณภาพ  แต่อย่างไรก็ตาม  การทำงานในลักษณะแบบทีมงานจะสำเร็จราบรื่นได้ต้องอาศัยการมีวัฒนธรรมองค์การแบบเต็มใจรับและสนับสนุน (Receptive  and  supportive  culture)  กล่าวคือ  ทุกหลักการเบื้องต้นของกระบวนการคุณภาพจะต้องเอื้อให้เกิดบรรยากาศของการทำงานแบบทีมที่ดี  ในการบริหารและการนำโรงเรียนด้วยโครงสร้างแบบทีมงาน  จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.             การมีส่วนร่วมโดยรวม (Total  involvement)  กล่าวคือ  ทุกคนในโรงเรียนไม่ว่าเป็นครูหรือบุคลากรอื่นใด  จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องและยอมรับว่าโครงสร้างบริหารแบบทีมงาน เหมาะสมที่สุดในการใช้แก้ปัญหาและการปฏิบัติงาน  ทั้งยังช่วยเพิ่มกาเรียนรู้ และทำให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
2.             มุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer  focus)  กล่าวคือ  ทีมงานปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญในการบริการลูกค้า  โดยร่วมกันเสาะหาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ขัดขวางการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า
3.             ต้องมีความชื่นชอบต่อค่านิยมเรื่องความหลากหลาย  (Appreciation  of  the  value  of  diversity)  กล่าวคือ โรงเรียนให้คุณค่าต่อความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)  และมีความเข้าใจว่า  การที่คนในทีมงานมีความแตกต่างกันในด้านทักษะ  ด้านวิธีการคิด  และมีแง่มุมในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน  ถือว่าเป็นจุดแข็งและมีผลดีต่อการทำงาน  และการเรียนรู้แบบทีมงาน  รวมทั้งให้ประสิทธิภาพที่สูงสุดในการแก้ปัญหาใด ๆ
4.             มีการแบ่งปันสารสนเทศ  (Sharing  information)  กล่าวคือ  การแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศระหว่างกันของสมาชิกทีมงาน  ย่อมก่อให้เกิดบรรยากาศที่เปิดเผย  ตรงไปตรงมา  และมีความไว้วางใจต่อกัน  ทำให้การตัดสินใจใด ๆ ที่ขาดข้อมูลสารสนเทศสนับสนุนจะทำได้ยากขึ้น
5.             มีการรับฟัง (Listening)  กล่าวคือ  ผู้นำที่มีกระบวนทัศน์ใหม่ด้านพฤติกรรมองค์การ จะแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ยอมรับฟัง   การสนับสนุนให้เกิดการสนทนาและการอภิปราย  และมีการตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น  ย่อมก่อให้เกิดบรรยากาศให้การทำงานแบบทีมประสบความสำเร็จราบรื่นและได้คุณภาพคำตอบที่มีความสร้างสรรค์เกิดขึ้น
6.             ทราบผลการทำงานของทีมงาน (Scorekeeping)  กล่าวคือ  มีการวัดผลสำเร็จของทีมงานโดยใช้ดัชนีตัวบ่งชี้หลัก (Key  performance  indicators)  ที่บ่งชี้ถึงผลสำเร็จโดยรวมของทีมงาน  ทำให้สมาชิกแต่ละคนมีระดับความพึงพอใจสูงขึ้น  และนำมาสู่การปรับปรุงผลรวมของการปฏิบัติงานแบบทีมงานสูง
7.             มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous  improvement)  กล่าวคือ  การมีทัศนคติเชิงคุณภาพ (Quality  mindset)  มิใช่จุดหมายปลายทางของการปรับปรุง  แต่มีแนวคิดสำคัญคือ การให้โรงเรียนต้องพยายามค้นหาจุดอ่อนเพื่อนำมาปรับปรุงบริการให้แก่ลูกค้าเกิดความพึงพอใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
8.             มีการมอบอำนาจความรับผิดชอบตัดสินใจ  (Empowerment)  กล่าวคือในโรงเรียนคุณภาพ (Quality  school) จะให้การยอมรับในคุณค่าของบุคคลและจะไว้วางใจให้คนเหล่านั้นสามารถตัดสินใจได้เอง  เมื่อได้รับข้อมูลสารสนเทศอย่างเพียงพอ  ให้มีอำนาจตัดสินใจทำการเปลี่ยนแปลงได้
9.             การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Adding  value) ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติงานของโรงเรียนเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งครอบคลุมถึงการบ่งชี้และขจัดอุปสรรคปัญหาใด ๆ ที่ขัดขวางการเรียนรู้  และโอกาสพัฒนาของบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่า  นักเรียน  ครู  และผู้บริหาร  ทั้งนี้เพื่อยกระดับ ผลสำเร็จให้สูงยิ่งขึ้น  และ
10.      การให้การยอมรับ (Recognition)  ได้แก่  การยกย่องยอมรับและการให้รางวัลตอบแทนในสิ่งที่มีคุณค่าทั่วทั้งโรงเรียนและชุมชน  ย่อมช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจต่อทีมงานให้สร้างผลงานต่อไปให้สูงยิ่งขึ้น
าวะผู้นำที่พึ่งประสงค์ขององค์การ
1.      ความรู้ (Knowledge)การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้เกี่ยว กับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้น2.      ความริเริ่ม (Initiative)ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง  ความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า
3.      มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้นในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ กล้าได้กล้าเสียด้วย
4.      การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations) ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้
5.      มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty)ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
6.      มีความอดทน (Patience)ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง
7.      มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness )ความ ตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์
ความ ตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง
พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)
8.      มีความภักดี (Loyalty) การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่าง
  9.      มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty) ผู้ นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล    ความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น